1 Min

ทำไมคนเรามักจะจำแต่คำตำหนิ แล้วมองข้ามคำชื่นชมที่ตัวเองได้รับ

1 Min
798 Views
28 Mar 2022

คนชมเราเป็นร้อยครั้ง แต่เรากลับจำคำตำหนิเพียงไม่กี่ครั้งแทน แล้วเราก็จะมักจำฝังใจกับคำพูดนั้นไปอีกนาน บางคนอาจนำคำตำหนินั้นมาพัฒนาตัวเอง แต่กลับบางคน เขาอาจจมอยู่กับคำพูดนั้นตลอดไป

เราทุกคนล้วนทั้งได้รับคำชมและคำตำหนิจากสิ่งที่เราทำ นั่นเพราะว่าเราไม่สามารถทำให้ถูกใจได้ทุกคน มีทั้งคนที่ชอบ และไม่ชอบปะปนกันไป บ้างอาจตำหนิเพื่อให้เราพัฒนาตัวเอง บ้างอาจตำหนิเพราะเขาอยากตำหนิและอคติกับเรา สิ่งที่เราทำได้ก็คือยอมรับคำตำหนินั้น แล้วย้อนมองตัวเราเองว่าเราทำผิดพลาดอย่างที่เขาว่าไว้ไหม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่สุดแสนจะปกติ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับทุกคน ทุกเพศทุกวัย

แต่สิ่งที่มักติดอยู่ในใจเราส่วนใหญ่ก็คงเป็นคำตำหนิมากกว่าคำชม ‘ทั้งๆ ที่เราทำเต็มที่ทำไมถึงยังดีไม่พอนะ’ เป็นคำถามที่วนเวียนในจิตใจเราตลอด และตัวเราก็รู้อยู่แล้วว่า ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่มีทางถูกใจคนทุกคนได้ ทุกคนก็มีมุมมองที่ต่างกันไปตามประสบการณ์ของพวกเขา

จริงๆ แล้วสาเหตุที่ทำให้เราจำคำตำหนิมากกว่าคำชมเกิดจาก ‘สัญชาตญาณการเอาชีวิตรอด’ เพราะมุมของการเอาตัวรอด เราจะระแวงกับสิ่งที่ไม่ดีและคำพูดตำหนิที่เราได้รับ เราจะรู้สึกกลัว จึงใส่ใจมันและเก็บกลับไปคิดถึงบ่อยๆ สมองเราจะเข้าใจว่ามันเป็นส่วนหนึ่งที่เราต้องให้ความสนใจเพื่อเอาตัวรอดในอนาคต เพื่อปรับปรุงและเปลี่ยน แต่ในทางกลับกันคำชมไม่ได้ทำให้เรากลัว เราจึงไม่ได้ใส่ใจกับคำชมนั้นมากเท่ากับคำตำหนิ ด้วยเหตุนี้เราจึงตอบรับการกระทำที่ไม่ดีหรือคำตำหนิด้วยอารมณ์มากขึ้น และอาจจะทำให้เราทุกข์ใจเกินควร

ดังนั้นหากเราไม่ชอบคำตำหนิหรือคำว่ากล่าวที่รุนแรง เราก็ไม่ควรทำสิ่งนั้น หากเราจะตำหนิใคร ก็ควรพูดด้วยคำพูดดีๆ อย่าชี้นิ้วกล่าวโทษกัน ค่อยๆ พูดถึงสิ่งที่ควรปรับปรุงข้อผิดพลาดของเขา และช่วยชี้ทางให้เขาเข้าใจ อย่าทำเพียงแค่คำตำหนิอย่างเดียว คนฟังก็จะรู้สึกดีแม้ว่าพวกเขาจะโดนตำหนิก็ตาม

ไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราจะจดจำคำตำหนิได้ดีกว่า แต่อยู่ที่ว่าเราจะจัดการอย่างไร ทางที่ดีเวลาเราได้รับคำตำหนินั้นมา ให้เราใจเย็นๆ ค่อยๆ คิด แล้วพิจารณาคำตำหนินั้นว่าเราสามารถนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นตรงไหนได้บ้าง 

อ้างอิง