2 Min

ท้องได้ก็เลี้ยงได้? สถิติท้องไม่พร้อม ปี 2019 สูงเกิน 60,000 คน

2 Min
1590 Views
16 Sep 2020

คุณแม่วัยใส… และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์เป็นประเด็นที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนาน

ถ้าหากดูสถิติซึ่งจัดเก็บโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จะพบว่า แม้การตั้งครรภ์ในวัยเรียนจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเทียบกับ 20 ปีที่แล้ว แต่พอเทียบกับประเทศอื่นๆ ประเทศไทยก็ยังคงเป็นประเทศที่มีการตั้งครรภ์ในวัยยังไม่บรรลุนิติภาวะสูงกว่ามาตรฐานโลกที่กำหนดไว้ที่ 10%

รูปจากซีรีส์ ‘อาทิตย์อัสดง’ (AFTER DARK)

ข้อมูลของกรมอนามัย ปี 2562 พบอัตราการคลอดในวัยรุ่นรวมทั้งหมด 63,831 คน แบ่งออกเป็น 2 ช่วงอายุ ได้แก่

ช่วงอายุ 15-19 ปี จำนวน 61,651 คน

ช่วงอายุ 10-14 ปี จำนวน 2,180 คน

ถ้าหากจัดแบ่งตามระดับการศึกษา เด็กสาวที่ท้องก่อนแต่งจะอยู่ในช่วงมัธยมต้นสูงที่สุด (60.7%) มัธยมปลาย (13.3%) และชั้นประถม (17.2%) ตามลำดับ

ทั้งนี้ ถ้าหากไม่นับเรื่องอายุเป็นปัจจัยของ ‘ความพร้อม’ ในการเลี้ยงดู จากสถิติพบว่าในกลุ่มวัยรุ่นที่ต้องเผชิญกับมีปัญหาเศรษฐกิจครอบครัว และไม่มีความรู้ในการเลี้ยงดูลูก

การเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นอย่างดีย่อมมี ‘ราคา’ ที่ต้องจ่าย ค่าใช้จ่ายต่อการเลี้ยงลูกต่อคนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.9 ล้านบาท

แต่จากข้อมูลของกรมอนามัยพบว่า กลุ่มวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมมีมากถึง 46% ที่ไม่มีรายได้ ส่วนอีก 54% ที่มีรายได้นั้น มากกว่าครึ่งหนึ่งยังมีรายได้ไม่ถึง 5,000 บาทต่อเดือน

ทำไมปัญหาการท้องไม่พร้อมในประเทศไทยจึงไม่หายไปไหนสักที?

รูปจากซีรีส์ ‘อาทิตย์อัสดง’ (AFTER DARK)

แม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในทุกๆ ปี แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเข้าถึงอุปกรณ์การคุมกำเนิดในไทยยังเป็นเรื่อง ‘น่าอาย’ และเซ็กซ์ก็เป็นเรื่องที่ควร ‘ปกปิด’ ทั้งกับสังคม กลุ่มเพื่อน และครอบครัว ทำให้หลายคนเลือกที่จะคุมด้วยวิธีการธรรมชาติที่เสี่ยงกว่ามาก

รวมถึงการสอนสุขศึกษาในโรงเรียนก็ไม่ได้สร้างความเข้าใจเรื่องการป้องกันการอย่างถูกต้อง ขณะที่ทั้งครูและเด็กต่างก็เคอะเขินที่จะพูดเรื่องเพศ จนนำไปสู่ความไม่เข้าใจซ้ำแล้วซ้ำเล่า

รูปจากซีรีส์ ‘อาทิตย์อัสดง’ (AFTER DARK)

ล่าสุดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรมอนามัยได้แก้ไขระเบียบ พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 โดยให้วัยรุ่นที่อายุ 10- 20 ปี สามารถมารับบริการฝังยาคุมหรือห่วงคุมกำเนิดได้ โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตผู้ปกครอง ซึ่งการใช้ยาฝังคุมกำเนิดจะมี 2 ส่วน คือ เด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงและมาขอรับบริการ และกลุ่มที่ตั้งครรภ์และคลอดแล้วใช้ยาฝังคุมกำเนิดเพื่อป้องกันตั้งครรภ์ซ้ำ

ทั้งนี้ วิธีการป้องกันที่กรมอนามัยแนะนำยังคงเป็นใช้ถุงยางอนามัยที่สามารถป้องกันได้ถึง 99% เพราะการฝังยาคุมหรือห่วงคุมกำเนิดไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

สุดท้ายแล้ว การแก้ไขปัญหาก็ควรย้อนกลับไปที่ต้นตอของสังคมว่าเซ็กซ์ในวัยรุ่นอาจเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ได้ ‘น่าละอาย’ ขนาดนั้น

รูปจากซีรีส์ ‘อาทิตย์อัสดง’ (AFTER DARK)

เรื่องเซ็กซ์เป็นเรื่องธรรมดา ทุกคนควรเรียนรู้ เพื่อป้องกันการท้องโดยไม่ตั้งใจ แต่ถ้าหากเซ็กซ์เกิดขึ้นด้วยความพลาดพลั้ง ในชีวิตจริงอาจนำมาสู่การตั้งครรภ์ หรือถ้าเป็นในหนัง บางทีการตั้งครรภ์อาจน่ากลัวกว่านั้น เพราะ ‘บางสิ่ง’ ที่อยู่ในครรภ์อาจตามหลอกหลอนใครบางคนไม่มีวันสิ้นสุด

ติดตาม ‘เชื้อหลอนออนไลน์’ 1 ใน 4 เรื่องสยองขวัญจากซีรีส์ ‘อาทิตย์อัสดง’ (AFTER DARK) ผลงานซีรีส์เรื่องแรกของ BrandThink CINEMA ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20:00 น. ทาง #WeTVth: https://bit.ly/36Sq6iy

อ้างอิง:

  • กรมอนามัย. อัตราการคลอดมชีพ ในหญิงอายุ 15-19 ปีพ.ศ. 2562. https://bit.ly/3imsArN
  • กรมอนามัย. อัตราการคลอดมชีพ ในหญิงอายุ 10-14 ปีพ.ศ. 2562. https://bit.ly/3fB9igE
  • กรมอนามัย. สถานการณ์การตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น. https://bit.ly/3gCSNCa
  • สสส. วัยรุ่นอายุ 10-20 ปี ฝังยาคุมกำเนิดได้. https://bit.ly/2PwV8Td