6 Min

สรุปหัวข้อ Sex Creator ทั้งหมด

6 Min
4489 Views
13 Jan 2022

ปีที่ผ่านมาคุณคุยเรื่องเซ็กซ์บ้างหรือเปล่า?

เซ็กซ์ในสังคมไทยปีที่ผ่านมา ถือเป็นประเด็นร้อนในโลกอินเทอร์เน็ตอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะหลังการเติบโตของ ‘OnlyFans’ พุ่งทะยาน พร้อมการเปิดเผยของอาชีพเซ็กซ์ครีเอเตอร์ (Sex Creators) ที่มีดาวเด่นอย่างน้องไข่เน่าประเด็นเหล่านี้กลายเป็นเรื่องโจษจันในสังคม เกิดการถกเถียง ทำให้เรื่องเซ็กซ์ที่เคยอยู่เพียงแค่ใต้ผ้าห่มกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ว่าด้วยกฎหมายและสิทธิเสรีภาพ ลุกลามมาถึงการเรียกร้องให้หนังโป๊และเซ็กซ์ทอยสินค้าเทาๆ เป็นของถูกกฎหมาย ทั้งยังเกิดการเรียกร้องเรื่องความเท่าเทียมทางเพศครั้งสำคัญในนามของสมรสเท่าเทียมอีกด้วย

เรื่องเพศจึงเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญแห่งปีที่ตกอยู่ในวงสนทนาอยู่บ่อยครั้ง และมันก็สะท้อนได้ดีว่าสังคมไทยเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

ต่อไปนี้เป็นการสรุปสุดยอดเรื่องเซ็กซ์ที่เกิดขึ้นในปี 2021 จะมีเรื่องที่คุณเคยกดไลก์ กดเแชร์ เขียนสเตตัส ทวิตถึง หรือติดแฮชแท็กด้วยหรือไม่ ลองมาดูกัน

onlyfans l shutterstock

#OnlyFans

ในเวลานี้ คงไม่มีใครไม่รู้จักแพลตฟอร์มร้อนแรงที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2016 อย่าง ‘OnlyFans’ ที่กอบโกยรายได้นับหมื่นล้านบาท และปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 150 ล้านราย (สถิติปี 2020) โดยความน่าสนใจของแพลตฟอร์มนี้ คือการเปิดโอกาสให้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) สร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้คนติดตาม ซึ่งต้องเสียค่าบริการตามที่ครีเอเตอร์กำหนด

แม้ OnlyFans จะไม่ได้มีแค่คอนเทนต์เรื่องเพศ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าแพลตฟอร์มแห่งนี้มีคอนเทนต์ 18+ เป็นตัวชูโรง นอกจากคนดังจากโลกฝั่งตะวันตก ก็มีชาวไทยมากมายที่กระโจนเข้ามาหารายได้ผ่านช่องทางนี้ หลังการระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2020 OnlyFans ก็ทำรายได้เพิ่มขึ้นถึง 500 เปอร์เซ็นต์ นำมาสู่การฉายแสงให้กับอาชีพใหม่แห่งยุคดิจิตัล นั่นคือเซ็กซ์ครีเอเตอร์’ (Sex Creator)

และชื่อของอาชีพนี้แหละที่ได้กลายมาเป็นหัวข้อร้อนแห่งปี 2021 พ่วงด้วยชื่อของไข่เน่าสาวผมสั้นหน้าใสใจถึงที่ตกเป็นข่าวนับครั้งไม่ถ้วนจนคุณอาจคุ้นหน้า

ไข่เน่า Sex Creator | Khaosod

#ไข่เน่า

อาชีพเซ็กซ์ครีเอเตอร์คืออาชีพประเภทเดียวกับพอร์นฮับเบอร์’ (Pornhubber) ซึ่งจริงๆ มันคือศัพท์ใหม่ของอาชีพดั้งเดิมอย่างผลิตหนังโป๊ที่มีในไทยและถูกซุกอยู่ใต้พรมมานาน ก่อนจะกลับมาเป็นหัวข้อการถกเถียงลำดับต้นๆ ของเมืองไทยปีที่ผ่านมา และทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างค่านิยมเก่ากับค่านิยมใหม่

กรณีของไข่เน่าเป็นตัวอย่างสำคัญที่ทำให้เห็นว่า บางส่วนของสังคมไทยมองเรื่องเพศเปลี่ยนไปแล้ว และบางส่วนก็ยังพยายามยัดเรื่องเพศกลับคืนใต้พรมภายใต้ข้ออ้างว่าศีลธรรมอันดีงาม

ไข่เน่าหรือตะวันเซ็กซ์ครีเอเตอร์ดาวเด่นของเมืองไทย วัย 19 ปี ศึกษาอยู่คณะนิติศาสตร์ เธอกับแฟนเริ่มมีชื่อเสียงจากการร่วมกันทำคลิปกิจกรรมทางเพศลงสื่อออนไลน์ โดยเริ่มจากการทำแอ็คล็อกในทวิตเตอร์ ก่อนจะขยับขยายมาเผยแพร่ผลงานลงใน OnlyFans และมีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดเธอก็กล้าเปิดเผยตัวตนกับสิ่งที่ทำ ด้วยการไปออกรายการออนไลน์ นำเรื่องเทาๆ ในสังคมไทยมาพูดในแสงสว่างอย่างเต็มตัว

ตำรวจไซเบอร์บุกจับไข่เน่ากับแฟน | เดลินิวส์

แต่ในวันที่ 20 กันยายน พ... ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกมาเปิดเผยว่า อาชีพเซ็กซ์ครีเอเตอร์ หรือ พอร์นฮับเบอร์ ที่ผลิตสื่อลามกอนาจารแล้วได้ผลประโยชน์ ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายต่อมากลางดึกวันเดียวกันนั้นเอง ตำรวจก็บุกจับไข่เน่ากับแฟนของเธอที่โรงแรมแห่งหนึ่งย่านบางพลี ในการจับกุมครั้งนั้น พล..ท กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้สัมภาษณ์ว่าถือเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดูและเพื่อจรรโลงความถูกต้องในศีลธรรมอันดีของประเทศไทย

แต่การเชือดไก่ให้ลิงดูในครั้งนั้นไม่ได้ทำให้ไข่เน่าหยุดทำตามอุดมการณ์ที่อยากให้สังคมมองเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติแต่อย่างใด ภาคต่อของไข่เน่าที่เป็นเสมือนตัวแทนแนวคิดเรื่องเพศสมัยใหม่ จึงเกิดขึ้นตามในเวลาเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น

ไข่เน่าพร้อมกลุ่มเจริญพรที่สภา | ประชาชาติธุรกิจ

#หนังโป๊เสรี

คำตอบของคำถามคนไทยดูหนังโป๊ไหม? ” จะแตกต่างกันไปตามแต่ผู้ตอบ เพราะถ้าถามนิด้าโพลก็จะบอกว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยดูหนังโป๊มากถึง 54.14 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าไปถามเว็บไซต์หนังโป๊ใหญ่ยักษ์ของโลกอย่าง Pornhub ก็จะบอกว่า คนไทยเคยครองอันดับหนึ่งในการเข้าชมเว็บโป๊นานที่สุดในโลกในปี 2019

และปีนี้ ในช่วงเวลาที่เซ็กซ์ครีเอเตอร์เพิ่งโดนจับกุม และเว็บไซต์ Pornhub ยังถูกปิดกั้น ก็เกิดการเรียกร้อง #หนังโป๊เสรี ขึ้น

ส่วนไข่เน่าแม้จะเคยโดยจับกุมไป แต่เธอก็ปรากฏตัวในสื่ออีกครั้งที่รัฐสภาในชุดกระโปรงยาวติดกระดุมถึงคอ พร้อมข้อเรียกร้องสิทธิให้สื่อทางเพศถูกกฎหมาย

หนูเป็นคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจาก ม.287 การที่เรียกร้องให้แก้กฎหมาย ไม่ได้แค่หนูคนเดียว แต่หนูอยากให้คนที่ขายบริการทางเพศได้รับการคุ้มครองที่ดีมากกว่านี้ ทุกวันนี้ เวลาเขาได้รับความเดือดร้อน เขาไม่สามารถไปแจ้งความหรือเรียกร้องอะไรได้เลยเธอกล่าวแถลงต่อสื่อมวลชนในวันที่ 16 พฤศจิกายน

กลุ่มเจริญ Porn ที่นำโดย อรรถพล ไข่ทอง หรือเบล ขอบสนามพร้อม ธนัตถ์ ธนากิจอำนวน หรือไฮโซลูกนัทและไข่เน่า ได้ยื่นหนังสือต่อสภาเพื่อเสนอการแก้ไขกฎหมายมาตรา 287’ ว่าด้วยสื่อลามกอนาจาร เพื่อเปิดกว้างให้มีเสรีภาพในการแสดงออก สามารถผลิตหนังโป๊ได้เสรี

การเรียกร้องหนังโป๊เสรีทำให้เกิดการตอบโต้ของอิทธิพล คุณปลื้มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยว่ายังไม่ใช่เวลาเหมาะสมให้เปิดกว้างและเสรีภาพกับเรื่องนี้ เพราะถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อีกทั้งยืนยันว่าอยากให้มีการสงวนรักษาวัฒนธรรมอันดีเอาไว้มากกว่าสิทธิเสรีภาพ

หลังการยื่นหนังสือ นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานผู้แทนราษฎร กล่าวว่า จะรับเรื่องนี้ไปตรวจสอบรายละเอียด หลังกระบวนการเสร็จสิ้น จึงจะให้มีการล่าหมื่นรายชื่อเพื่อดำเนินการแก้กฎหมายต่อไป

การเรียกร้องดังกล่าว ไม่ว่าจะเกี่ยวกับเรื่องสิทธิของเซ็กซ์ครีเอเตอร์ หนังโป๊เสรี รวมทั้งเซ็กซ์ทอย ที่มีหัวใจสำคัญคือการเรียกร้องสิทธิในเรืองร่างตนเองยังดำเนินต่อไป และคำถามที่ว่า กฎหมายไทยจะเปิดกว้างให้เรื่องเหล่านี้เมื่อไหร่ ยังคงรอคำตอบต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ เราก็เห็นได้ชัดแล้วว่า ในสังคมเรามีกลุ่มคนที่เชื่อว่าเรื่องเพศไม่ใช่เรื่องน่าอายอีกต่อไปแล้ว

ธงไพรด์ปักบนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย l shutterstock

#สมรสเท่าเทียม

ความหมายเซ็กซ์ไม่ได้จบอยู่แค่ที่เรื่องเพศสัมพันธ์ทางกาย หากแต่รวมถึงเรื่องเพศและความหลากหลาย ดังนั้น การพูดถึงเรื่องความเท่าเทียมทางเพศจึงเป็นอีกหนึ่งหัวข้อสำคัญในสังคมไทย และในปีนี้ก็มีการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศครั้งสำคัญกับกระแส #สมรสเท่าเทียม ที่ปัจจุบันรายชื่อสนับสนุนแคมเปญดังกล่าวนั้นมีมากถึงเกือบ 3 แสนรายชื่อแล้ว (ข้อมูลวันที่ 20 ธันวาคม 2021)

การสนับสนุนสมรสเท่าเทียม คือการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448’ โดยเปลี่ยนถ้อยคำให้เป็นกลางทางเพศ และแก้ไขจากการสมรสระหว่างชายและหญิงมาเป็นการสมรสของบุคคลกับบุคคล เปลี่ยนจากบิดามารดามาเป็นคำว่าบุพการีแล้วสามีภรรยามาเป็นคำว่าคู่สมรสเพื่อให้คู่รัก LGBTQ+ สามารถเข้าถึงกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ

การเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2020 โดย ส.. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และคณะฯ จากพรรคก้าวไกล และเกิดกระแสดำเนินยาวมาจนถึงปี 2021 แต่ปมสำคัญที่จุดชนวนให้สมรสเท่าเทียมเป็นที่สนใจกันมากอีกครั้ง เกิดจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 17 พฤศจิกายนของปีนี้ ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ที่กำหนดการสมรสเฉพาะชายหญิงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ศาลเห็นว่าลักษณะตามธรรมชาติของร่างกายชายกับหญิงอันสอดคล้องกับการตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรนั้นมีความสัมพันธ์กับการสมรสจนไม่อาจแยกออกจากกันได้เป็นเหตุให้การสมรสเป็นเรื่องระหว่างชายกับหญิงเท่านั้นตลอดจนการสมรสซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งครอบครัวและให้กำเนิดบุตรนั้นเป็นพื้นฐานอันสำคัญยิ่งของสังคม

ธงสมรสเท่าเทียม l shutterstock

ท่ามกลางความร้อนแรงของกระแส #ศาลรัฐธรรมนูญเหยียดเพศ จึงมีการชุมนุมอย่างสันติเกิดขึ้นที่แยกราชประสงค์ของภาคีสีรุ้งและเครือข่าย 43 องค์กร โดยมุ่งรณรงค์รวบรวมหนึ่งล้านรายชื่อสนับสนุนสมรสเท่าเทียม ให้เกิดการแก้กฎหมายมาตรา 1448

ปัจจุบันการยอมรับความหลากหลายไม่ได้เป็นแค่เรื่องของประเทศไทยประเทศเดียว หากแต่เป็นกระแสสำคัญของโลก ที่ผ่านมาเราเห็นหลายๆ แห่งบนโลกที่ร่วมขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศกันอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นไต้หวัน ที่กลายเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ผ่านกฎหมายให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันสามารถแต่งงานได้ตามกฎหมาย

การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศในไทยยังดำเนินต่อไป แม้ความต้องการที่จะแก้กฎหมายมาตรา 1448 จะยังไม่สำเร็จลุล่วง แต่ในปีนี้ เราได้เห็นกันแล้วว่ามีผู้คนมากมายที่พร้อมจะต่อสู้เพื่อมัน และการมาถึงของปี 2022 จึงเหมือนเป็นประตูแห่งความหวังที่บรรจุเส้นทางอีกยาวไกล โดยเส้นชัยข้างหน้าคือการที่ทุกเพศ ทุกความหลากหลาย ได้รับสิทธิที่พึงมีในฐานะประชาชน

อ้างอิง