3 Min

มรดกคณะราษฎร

3 Min
1307 Views
28 Jun 2021

Select Paragraph To Read

  • อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (สาบสูญ)
  • อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • อาคารเทเวศร์ประกันภัย
  • ถนนพหลโยธิน
  • วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร
  • สนามศุภชลาศัย
  • หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ตึกคณะสถาปัตย์จุฬาฯ
  • ไปรษณีย์กลางบางรัก
  • ถนนราชดำเนิน
  • ศาลฎีกา (โดนรื้อ)
  • ตึกโดม ธรรมศาสตร์
  • โรงแรมรัตนโกสินทร์

วันนี้เมื่อ 89 ปีก่อน เป็นวันแรกที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบ ‘ประชาธิปไตย’

หลังจากคณะราษฎร นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินและเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากมรดกทางการเมืองที่คณะราษฎรทิ้งเอาไว้ให้คนไทยรุ่นหลังแล้ว ในช่วงเวลานั้นยังมีการสร้างสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และรูประลึก ประจำยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลงไว้มากมาย อย่างเช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่เป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็เป็นมรดกส่วนหนึ่งของคณะราษฎร

แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีสิ่งของและสิ่งก่อสร้างไม่น้อยที่เกี่ยวพันกับคณะราษฎรและการปฏิวัติค่อยๆ ทยอยหายไปอย่างไร้ร่องรอย ถูกรื้อบ้าง ถูกเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์อย่างอื่นบ้าง หมุดคณะราษฎรก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกรื้อถอนออกเมื่อปี 2560 และยังไม่มีใครหาพบ นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ อนุสาวรีย์จอมพล ป. พิบูลสงคราม อนุสาวรีย์พระยาพหลฯ และอีกหลายแห่งที่หายไป

ในโอกาสครบรอบ 89 ปีของต้นกำเนิดประชาธิปไตยไทย BrandThink ชวนตามดูมรดกของคณะราษฎรทั้งที่หลงเหลือ และที่สาบสูญ ในเขตกรุงเทพฯ ที่เป็นสัญลักษณ์ตกทอดของการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิทธิเสรีภาพของคนไทยว่ามีที่ไหนกันบ้าง

อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (สาบสูญ)

มีอีกชื่อคือ อนุสาวรีย์ปราบกบฏ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับการปราบกบฏบวรเดช เคยตั้งอยู่ที่วงเวียนหลักสี่ อีกหนึ่งสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยถูกเคลื่อนย้ายไปในคืนวันที่ 28 ธันวาคม 2561 ปัจจุบันยังหาไม่พบ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตในสงครามข้อพิพาทแย่งดินแดนระหว่างไทยและฝรั่งเศส (สงครามอินโดจีน) ในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 59 คนในสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงครามและทำพิธีเปิดวันที่ 24 มิถุนายน 2485

อาคารเทเวศร์ประกันภัย

อาคารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในการปรับภูมิทัศน์ถนนราชดำเนินในยุคสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เพื่อให้เป็น “ชองส์-เอลิเซ่ แห่งเมืองไทย” โดยปรับสถาปัตยกรรมโดยรอบให้เป็นแบบสมัยใหม่ด้วยอาคารคอนกรีตเรียบ

ถนนพหลโยธิน

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร

วัดพระศรีมหาธาตุ มีชื่อเดิมว่า “วัดประชาธิปไตย” สร้างในสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม โดยสร้างเสร็จวันที่ 24 มิถุนายน 2484 เพื่อฉลองครอบครบรอบ 10 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาเมื่ออัญเชิญพระเจดีย์ศรีมหาธาตุมาประดิษฐานจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดพระศรีมหาธาตุ”

สนามศุภชลาศัย

ในอดีตพื้นที่ตรงนี้เคยเป็น “วังวินด์เซอร์” ที่ถูกสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2478 หลวงศุภชลาศัย มีแนวคิดสร้างสนามกีฬาแห่งชาติ ในพื้นที่นี้จึงได้มีการรื้อวังออกและสร้างเป็นสนามศุภชลาศัยที่เรารู้จักกัน

หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


หอประชุมใหญ่ที่เป็นสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์ ก่อสร้างเสร็จในปี 2482 สมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีในขณะนั้นซึ่งถูกออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยแบบคอนกรีต เน้นความเรียบและลดทอนความอ่อนช้อยลง

ตึกคณะสถาปัตย์จุฬาฯ

ตึกของคณะสถาปัตย์จุฬาลงกรณ์ ถูกสร้างขึ้นสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีเช่นเดียวกัน โดยอาคารมีลักษณะของสถาปัตยกรรมยุคคณะราษฎรที่ชัดเจน

ไปรษณีย์กลางบางรัก

ไปรษณีย์กลางบางรักเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2478 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นาน โดยมีรูปแบบอาคารที่เข้ากับยุคคณะราษฎรที่ชัดเจน เน้นความแข็งแรงและเรียบ โดยมีเสา 6 ต้นทั้ง 2 ปี แสดงถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ที่ประกอบไปด้วย เอกราช, ความปลอดภัย, เศรษฐกิจ, เสมอภาค, เสรีภาพ และการศึกษา

ถนนราชดำเนิน

ในสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงครามได้มีการปรับภูมิทัศน์สร้างความทันสมัยให้กับถนนราชดำเนินเพื่อให้เป็น “ชองส์-เอลิเซ่ แห่งเมืองไทย” โดยปรับสถาปัตยกรรมโดยรอบให้เป็นแบบสมัยใหม่ด้วยอาคารคอนกรีตเรียบ

ศาลฎีกา (โดนรื้อ)

ในปี 2483 คณะราษฎรได้สร้าง ศาลฎีกา ขึ้นหลังยกเลิกสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และทำสนธิสัญญาใหม่กับประเทศมหาอำนาจตะวันตกรวม 12 ประเทศ ได้สำเร็จ และเปิดใช้วันที่ 24 มิถุนายน 2486 เพื่อรำลึกถึงความสำเร็จ ต่อมาปี 2556 อาคารถูกรื้อถอน เหลือเพียงส่วนหน้าที่เป็นที่ทำการศาลยุติธรรม และมีการสร้างอาคารใหม่แบบไทยประยุกต์ขึ้นบนพื้นที่เดิ

ตึกโดม ธรรมศาสตร์

27 มิถุนายน 2477 มีการสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น โดยมีนายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในคณะราษฎรผู้นำการปฏิวัติเป็นผู้บริการคนแรก มีการออกแบบอาคารหลังแรกโดยปรับจากตึกเก่า 4 หลังให้เชื่อมต่อกันเป็นอาคารเดียวและสร้าง ‘โดม’ ไว้ตรงกลางเพื่อแสดงถึงภูมิปัญญาที่เฉียบคม

โรงแรมรัตนโกสินทร์

โรงแรมแห่งนี้สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2485 เป็นส่วนหนึ่งในการปรับภูมิทัศน์ถนนราชดำเนินในยุคสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงครามเช่นกัน