เราเติบโตมาผ่านความเข้าที่ใจว่า ‘น้ำตา’ เป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแอ การร้องไห้ทำให้เราดูไม่เข้มแข็ง ไม่แข็งแกร่ง และอาจดูไม่เป็นผู้ใหญ่ บางคนเลยกลั้นน้ำตาเอาไว้ ไม่ว่าจะเกิดเรื่องอะไร ยังไงก็จะไม่ร้องไห้ออกมา
แต่การไม่ร้องไห้ของใครบางคน ไม่ได้แปลว่าเขาแข็งแกร่ง หรือไม่ได้เป็นอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนที่ไม่ค่อยร้องไห้ อาจหมายความว่าพวกเขา “ไม่สามารถจัดการตัวเองได้” ด้วยเช่นกัน จนในบางครั้งอาจจะเกิดความเปราะบางทางอารมณ์และแตกสลายได้ง่ายมากกว่าคนที่ร้องไห้บ่อยๆ
เพราะในบางครั้งการระงับอารมณ์และการจำกัดความสามารถในการร้องไห้สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงลบ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง ความวิตกกังวล และความสัมพันธ์ที่ยากลำบาก
แต่บางคนอาจจะรู้สึกว่าใช่ เราเป็นแบบนั้น แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า สาเหตุมาจากอะไร เรามาดูกันดีกว่า ว่าสาเหตุที่ทำให้เราไม่อยากที่จะร้องไห้กันสักนิด ว่าอาจจะมาจากปัจจัยอะไรได้บ้าง
- แนวคิดของสังคม – เมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ การร้องไห้ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติก็ดูจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเพราะเรามักถูกสอนว่า ‘โตแล้วอย่าร้องไห้’ เราจึงไม่กล้าที่จะร้องไห้เพราะกลัวที่จะอับอายต่อหน้าคนอื่น
- การเหมารวมทางเพศ – บางครั้งคนที่กลั้นร้องไห้บ่อยๆ โดยเฉพาะผู้ชายที่อาจโตมากับการได้ยินคำพูดเช่น “เป็นผู้ชายอย่าร้องไห้” จึงพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการร้องไห้ และต้องทำตัวเข้มแข็งอยู่เสมอ
- ความบอบช้ำทางอารมณ์ในวัยเด็ก – การถูกทำร้ายในวัยเด็ก ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ใครหลายๆ คน ไม่กล้าที่จะร้องไห้ออกมา เมื่อโดนตวาดให้ ‘เงียบ’ พวกเขาต้องกลั้นร้อง จนรู้สึกจุกในลำคอและหายใจได้ลำบาก มันเป็นความรู้สึกที่ทรมาน และแย่สำหรับวัยเด็กมาก
- ปัญหาทางอารมณ์ – การกลั้นร้องไห้บ่อยๆ อาจทำให้เราไม่ได้ปลดปล่อยความวิตกกังวล ซึ่งอาจส่งผลให้อารมณ์ขุ่นมัว และนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
- ความวิตกกังวล – คนที่จัดการกับความวิตกกังวล ความเครียดทางสังคมได้ นั่นเพราะเขาอาจไม่ต้องการให้คนอื่นเห็นพวกเขาร้องไห้ ทำให้ดูเหมือนจะควบคุมอารมณ์ได้ แต่ที่จริงแล้วพวกเขาเปราะบางและพร้อมแตกสลายได้ง่ายมาก
- บาดแผลในอดีต – บางครั้งการเจอเรื่องที่กระทบจิตใจมากๆ จนร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาวะช็อก รับไม่ได้กับความผิดหวังบ่อยๆ มันจึงเป็นเรื่องยากที่จะร้องไห้ และอาจส่งผลในระยะยาวอย่างต่อเนื่องจนพวกเขาปลีกตัว แยกตัวออกจากคนอื่น
- โรคประจำตัว – ความผิดปกติทางจิต เช่น โรคจิตเภทหรือโรคแอนฮีโดเนียในบางครั้งอาจทำให้ร้องไห้ได้ยาก คนที่มีอาการนี้จะไม่แสดงอารมณ์เหมือนคนปกติ เหมือนพวกเขาไม่ได้สนใจอะไรเลย แต่แท้จริงแล้ว พวกเขามีปัญหาในการแสดงออกผ่านการ ร้องไห้ หัวเราะ ฯลฯ อีกด้วย
- ยาบางชนิด – ยาบางชนิดอาจมีผลทำให้อารมณ์ขุ่นมัว เช่น ยากล่อมประสาทที่สัมพันธ์กับอาการมึนงงและยาซึมเศร้า ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการไม่แสดงออกทางอารมณ์
สุดท้ายแล้ว สิ่งสำคัญอาจจะไม่ใช่เรื่องร้องไห้ หรือไม่ร้องไห้ แต่มันขึ้นอยู่กับเราจัดการสภาวะทางอารมณ์ของเราดีแค่ไหน ถ้าเรารู้สึกอัดอั้นและเก็บกดมากเกินไป ก็ขอให้ระบายออกมา ซึ่งการร้องไห้อาจจะไม่ใช่เพียงวิธีใดในการระบายความรู้สึกตรงนี้ ยังมีวิธีอีกมากมายที่เราระบายได้เช่นกัน
แต่ถ้ารู้สึกว่าทุกอย่างเริ่มไม่ไหว เริ่มจัดการไม่ได้ การปรึกษาจิตแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีเหมือนกัน
อ้างอิง
- mindbodygreen. Why Can’t I Cry? 8 Reasons, From Medical To Emotional. https://bit.ly/34Hrciq