3 Min

The Economy of Japan: how a Superpower Fell from Grace in Four Decades

3 Min
63 Views
17 Dec 2023

เศรษฐกิจของญี่ปุ่น : มหาอำนาจล่มสลายในสี่ทศวรรษอย่างไร

เมื่อพูดถึงประเทศญี่ปุ่น เราจะนึกถึงภาพลักษณ์ของประเทศที่เคยแพ้สงครามโลก แต่สามารถพลิกฟื้นกลับขึ้นมาเป็นชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลสูง เต็มไปด้วยเทคโนโลยีล้ำๆ นวัตกรรมเจ๋งๆ ความมีระเบียบ วินัย ตรงต่อเวลา และมีความเป็นชาตินิยมที่เข้มข้น

แต่รู้ไหมว่าในช่วงยุค 1980 เป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเฟื่องฟูสุดขีด ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคทองเลยก็ว่าได้ เวลานั้นญี่ปุ่นไม่ได้ใช้กองทัพจรรกวรรดิในการสร้างอำนาจเหมือนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่กลับยึดครองเกือบครึ่งค่อนโลกในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก

อุตสาหกรรมสร้างชื่อให้กับชาติญี่ปุ่นคือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ต้องยอมรับว่าสินค้าญี่ปุ่นมีชื่อเสียงด้านคุณภาพและนวัตกรรมที่แม้แต่ชาติที่เคยให้กำเนิดเทคโนโลยีต้นฉบับในยุโรปยังต้องยอมรับในความเป็น Made in Japan รวมทั้งประเทศไทยที่ชื่นชอบและนิยมสินค้าที่มาจากดินแดนอาทิตย์อุทัย จนถึงทุกวันนี้ก็ยังได้รับความเชื่อถือไม่เสื่อมคลาย

สำหรับประเทศญี่ปุ่นมีอาณาเขตจากการรวมของหมู่เกาะต่างๆ บนพื้นที่วงแหวนแห่งไฟ 337,975 ตารางกิโลเมตร น้อยกว่าประเทศไทยประมาณ 135,145 ตารางกิโลเมตร และจำนวนประชากรในปี 1980 คือ 116.8 ล้านคน

จำนวนทรัพยากรมนุษย์บนพื้นที่ที่จำกัดคือแรงกดดันในการนำเข้าสินค้า และเป็นการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ทำให้สินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ถูกส่งออกให้มากกว่า เพื่อรักษาเสถียรภาพดุลการค้าเช่นกัน

คุณภาพของสินค้าญี่ปุ่นที่อยู่ในเกรดสูง มีประสิทธิภาพสูง ในราคาย่อมเยากว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตโดยชาติยุโรปหรืออเมริกา มันจึงเป็นตัวเลือกอันดับ 1 สำหรับผู้บริโภคและผู้ประกอบการในการเลือกสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น

เมื่อมีการนำเข้าสินค้าญี่ปุ่นจากประเทศต่างๆ มากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือเจ้าแห่งตลาดเดิมขาดดุลการค้า หรือเข้าใจง่ายๆ คือ ขายของอยู่แล้ว แต่สินค้าขายไม่ดีเหมือนแต่ก่อน ทำให้ขาดทุน ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์คือการขาดดุลที่น่าสนใจคือ ผู้ขาดดุลรายใหญ่เป็น สหรัฐอเมริกา เมื่อสหรัฐกำลังเสียท่า เพราะไม่ได้รับผลกระทบแค่ทางฝั่งญี่ปุ่น แต่ยังได้รับผลกระทบจากอีกหลายๆ ประเทศที่กำลังผลักดันสินค้าอุตสาหกรรม

นำมาสู่ Plaza Accords หรือข้อตกลงพลาซ่า ที่นิวยอร์ก ในเดือนกันยายน 1985 เมื่อรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ และรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์อังกฤษ เยอรมนีตะวันตก ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เหล่านี้ล้วนได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐมาลงนามข้อตกลงร่วมกัน โดยได้ข้อสรุปเป็นการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับสกุลเงินของตน เพื่อแก้ปัญหาให้กับการขาดดุลการค้าและผลจาก Plaza Record ส่งผลให้ค่าเงินเยนญี่ปุ่น แข็งค่าขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวในเวลา 1 ปี

ในปี 1985 เงิน 242 เยน เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

ในปี 1986 เงิน 153 เยน เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

ฟองสบู่แตกและผลที่ตามมา

ภาวะฟองสบู่เศรษฐกิจแตกในปี 1989 เกิดจากการที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ และความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจโดยรวมถึงจุดสูงสุด

ภาวะเงินฝืดและความซบเซาตามมา นำไปสู่วิกฤตการณ์ระบบธนาคารในปี 1997 ซึ่งสถาบันการเงินรายใหญ่ล้มเหลว และเศรษฐกิจเผชิญกับความท้าทายในด้านการปล่อยสินเชื่อและการลงทุน

การต่อสู้ของญี่ปุ่นกับภาวะเงินฝืดและมาตรการต่างๆ ที่ใช้ตอบโต้ ซึ่งรวมถึงนโยบายการเงินที่แหวกแนว เช่น มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ได้รับการเน้นย้ำ โดยจำนวนประชากรที่ลดลงของญี่ปุ่นส่งผลต่อความท้าทายทางเศรษฐกิจ และมีการสำรวจแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ รวมถึงนโยบายการคลังและการย้ายถิ่นฐาน

อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นก็ยังคงเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการถือสิทธิบัตรนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงอื่นๆ ที่หลายประเทศไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ และแม้ว่าประเทศคู่แข่งจะพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาจนเกือบเทียบเท่า แต่อุปกรณ์บางชิ้นส่วนที่สำคัญก็ยังต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น โดยเฉพาะสมาร์ตโฟน ที่แม้ค่ายผู้ผลิตยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ก็ยังต้องพึ่งพาชิ้นส่วนเหล่านี้จากญี่ปุ่น

ขอขอบคุณข้อมูล

https://www.blockdit.com/posts/6215ec88a398410ffec007c6

ขอขอบคุณรูปภาพ

https://en.wikipedia.org/wiki/Plaza_Accord

https://www.insider.com/tokyo-japan-named-best-big-city-travel-2019-10

https://www.thansettakij.com/motor/515649

https://www.infoquest.co.th/2023/332759

งานเขียนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา

751309 Macro Economic 2

ซึ่งสอนโดย ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

งานชิ้นนี้ เขียนโดย

ณัฐพงศ์ กติกาวงศ์ 651610126