6 Min

HW 6 : The Economy of Japan

6 Min
11 Views
18 Dec 2023

HW 6 : The Economy of Japan

หากย้อนกลับไปในอดีตประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ความเจริญเติบโต ศักยภาพที่สูง ซึ่งก็ได้สร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศญี่ปุ่นจนเกือบจะแซงหน้าประเทศมหาอำนาจใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงได้สร้างความหวาดกลัวให้แก่ชาติตะวันตกเป็นอย่างมาก แต่เมื่อปี ค.ศ. 1989 นั้นทุกอย่างก็ได้เปลี่ยนแปลงไป ประเทศญี่ปุ่นได้พบกลับภาวะเงินฝืดและเศรษฐกิจตกต่ำ แม้ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นจะจัดการหนี้สาธารณะให้แก่รัฐบาลมากถึง 70% และยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้แก่บริษัทในประเทศก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความยิ่งใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นนั่นกลับมาผงาดงำเช่นเดิม

ย้อนกลับไปในปี ค.ศ.1979 การปฏิวัติของประเทศอิหร่าน รวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศอิรักและอิหร่าน ส่งผลให้เกิดวิกฤติน้ำมันเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งก็ทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องแก้ไขสถานการณ์นี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแก่อุตสาหกรรมต่างๆที่ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งก็ได้แก้ไขสถานการณ์นี้ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งก็จะทำให้ภาคอุตหกรรม ภาคธุรกิจอยากกู้เงินไปลงทุนเพิ่มขึ้น แต่การแก้ไขวิกฤติโดยนโยบายนี้มันดันสร้างฟองสบู่ทางทรัพย์สินให้แก่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือราคาของสินทรัพย์จะเพิ่มขึ้น เกินกว่าราคาปกติ จนเกิดการเก็งกำไรกันขึ้นและก็จะทำให้ราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆคล้ายฟองสบู่นั่นเอง ต้นทศวรรษที่ 80 เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นเต็มไปด้วยการลงทุน การลงทุนได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาหลังจากมีนโยบายในการลดอัตราดอกเบี้ยลง โดยธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะให้สินเชื่อแก่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ท่าเรือ ซึ่งก็ทำให้อุตหกรรมต่างๆในประเทศญี่ปุ่นขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนทำประเทศมหาอำนาจใหญ่อย่างสหัฐอเมริกากลัวว่าความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมนี้จะทำให้ญี่ปุ่นแซงหน้าประเทศของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ เกรงว่าประเทศญี่ปุ่นจะมาแทนที่ จนทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ประเทศตนถูกทำลาย ประเทศอเมริกาจึงทำการจำกัดจำนวนรถยนต์ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นครั้งแรกในปีค.ศ 1981 หลังจากก็ได้มีการขึ้นภาษีจักรยานยนต์ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นให้เพิ่มสูงถึง 45% ในปี 1983 แต่ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไปในปีค.ศ. 1985 เกิดข้อตกลงที่ชื่อว่า Plaza ขึ้นข้อตกลงนี้เป็นข้อตกลงระหว่างยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่ว่าการค้าโลกในปัจจุบันนั้นไม่สมดุลเอาซ่ะเลย ค่าเงินดอลลาร์นั่นแข็งค่ามากเกินไป เมื่อเทียบกับค่าเงินปอนด์ ฟรังก์และเยน รวมไปถึงประเทศอื่นๆอีกด้วย โดยข้อตกลงนั่นธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นต้องขายทุนสำรองระหว่างประเทศที่เป็นเงินดอลลาร์จำนวนมาก เพราะข้อตกลงต้องการที่จะทำให้เงินดอลลาร์ไม่เป็นต้องการ จึงให้หลายๆประเทศขายเงินดอลลาร์คืนให้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อจะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง และก็จะทำให้ค่าเงินอื่นๆแข็งค่าขึ้นมา รวมไปถึงเงินเยนด้วย ซึ่งข้อตกลงนี้ก็ได้ทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นจริง แต่ก็มีปัญหาที่ตามมานั่นคือหากค่าเงินแข็งค่าขึ้นก็จะส่งออกได้น้อยลง ซึ่งส่งผลโดยตรงแก่ผู้ผลิต แต่กลับกันการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเองก็จะถูกลงส่งผลให้ผู้บริโภคมีค่าครองชีพที่ดีขึ้น  เพื่อตอบโต้ค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ธนาคารกลางได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ทำให้ภาวะฟองสบู่ทางสินทรัพย์ที่ได้กล่าวไปนั้นยิ่งกระจายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลให้ช่วงปลายทศวรรษที่ 18 ราคาสินทรัพย์หรือแม้แต่ราคาหุ้นในประเทศญี่ปุ่นก็มีราคาสูงมาก มากจนเกินไปด้วยซ้ำ ราคาที่ดินแถบพระราชวังอิมพิเรียลที่เกียวโตนั้นแม้เป็นแค่ที่ดินผืนเล็กๆ แต่ดันมีราคาสูงกว่าอสังหาริมทรัพย์บนพื้นแผ่นดินแคลิฟอร์เนียด้วยซ้ำ ซึ่งในปี 1989 ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ตอบสนองภาวะฟองสบู่โดยการเริ่มเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ซึ่งนั่นก็ทำให้ฟองสบู่ที่กระจายตัวนั้นได้เริ่มแตก ซึ่งนั้นก็ได้เป็นการเริ่มนำพาให้เศรษฐกิจประเทศอยู่ในภาวะเงินฝืดและส่งผลให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกด้วย

 

กลไกทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่สำคัญที่สุด 3 ประการ นั่นคือ

1.ภาวะเงินฝืดในช่วงทศวรรษ 90 ในช่วงนั้นภาวะเงินฝืดมีความผันผวนสูงมาก และระบบอาจธนาคารล่มสลายได้ ซึ่งภาวะเงินฝืดเกิดจากความต้องการซื้อสินค้าโดยรวมลดลง แต่ความต้องการขายของผู้ผลิตยังคงมีเท่าเดิม เกิดอุปทานส่วนเกิน สิ่งของมีมากกว่าความต้องการซื้อของผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าลงเพื่อให้สินค้าของตนขายได้ ทำให้เกิดภาวะเงินฝืดขึ้นนั้นเอง หลังจากนั้นราคาสินทรัพย์ต่างๆก็จะลดลงเป็นอย่างมาก ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะไม่นำบ้านไปจำนอง การชำระค่าบ้านก็จะเป็นเรื่องยากขึ้น เนื่องจากหนี้สินยังมีค่าที่คงที่อยู่แต่รายได้ผู้คนนั้นลดลง ซึ่งธนาคารกลางมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเล็กน้อยในปี 1991 เพื่อช่วยผู้กู้ยืม แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรได้มากนัก เนื่องจากวิกฤติฟองสบู่นั้นใหญ่มาก แต่แม้เศรษฐกิจจะตกต่ำ ธนาคารก็ปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทน้อยลงอยู่ดี ซึ่งทำให้การลงทุนในประเทศญี่ปุ่นลดลง จนทำให้เศรษฐกิจถดถอยตามมานั่นเอง ในช่วงพฤศจิกายน 1997 เป็นช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการเริ่มต้นของวิกฤตทางธนาคาร เนื่องจากธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถลดอัตราดอกเบี้ยให้ได้อีกแล้ว เนื่องจากขณะนั้นดอกเบี้ยอยู่ที่ 0% แล้วนั่นเอง ในปี 1997-1998 มีสถาบันการเงินรายใหญ่ 7 แห่งล้มสลายเพราะวิกฤติทางธนาคารนี้ แต่วิกฤตินี้ก็ได้สิ้นสุดลงหลังจากได้รับเงินออมจากภาษี ภาวะเงินฝืดก็ได้คลี่คลาย ธนาครก็กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

2.ความคาดหวังของภาวะเงินฝืดในช่วงปี 2000 ในยุคนี้ประเทศญี่ปุ่นก็กลับมาสู่ภาวะเงินฝืดอีกครั้ง แต่หนี้สินภาคเอกชนได้หมดไป เนื่องจากได้รับการแก้ไขโดยรัฐได้ทำการประกันหนี้ธนาคารเอกชน โดยหนี้ของธนาคารจะอยู่ในงบของรัฐบาล ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าภาวะเงินฝืดนั้นจะส่งผลกระทบในทางลบต่อรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นที่มีหนี้สูงเนื่องจากการประกันหนี้ให้ธนาคารเอกชน เนื่องจากมีการชำระได้ยากเพราะราคาสูง รวมไปถึงยังมีปัญหาเรื่องดอกเบี้ย ซึ่งทำให้ผู้คนต่างพากันออม มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายน้อยลง ทำให้เศรษฐกิจไม่ทำงาน เนื่องจากคนไม่มาใช้จ่าย GDP ในประเทศก็ลดลง ด้วยปัญหานี้ทำให้ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นและมุ่งเป้าไปที่อัตราเงินเฟ้อ เพราะว่ามันจะช่วยเหลือรัฐบาลในการชำระหนี้รวมไปถึงช่วยเหลือภาคเอกชนทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น และยังช่วยกระตุ้นให้ผู้คนนำเงินออกมาจับจ่ายใช้สอยอีกด้วย แต่ประเทศญี่ปุ่นก็ยังคงประสบปัญหาเงินฝืดอยู่ เพราะภาคธุรกิจไม่สามารถขยายตัวได้รวดเร็วตามทฤษฎีอัตราเงินเฟ้อ นั่นคืออุปทานไม่เพียงพอจึงทำให้ประเทศญี่ปุ่นยังคงประสบปัญหาเงินฝืดอยู่นั่นเอง ซึ่งต่อมาธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ได้เสนอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ โดยให้อัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นไม่ต่ำกว่าศูนย์ และให้อัตราดอกเบี้ยในระยะยาวสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเพื่อชดเชยให้ผู้กู้ ในช่วงแรกของมาตรการ การว่างงานลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ตรงกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ ทำให้ประเทศญี่ปุ่นในทศวรรษ 2000 ยังประสบพบเจอปัญหาเงินฝืดอยู่

 3.การลดลงของประชากรในช่วงปี 2010 ประชากรในประเทศญี่ปุ่นลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการลดลงของประชากรนี้จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยตรง เนื่องจากเศรษฐกิจขับเคลื่อนได้โดยการใช้จ่ายของประชาชน หากประชากรลดลงก็จะหมายถึงแรงงานลดลง รายได้ค่าจ้างและผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรมก็จะลดลงตามมา ซึ่งก็จะทำให้เห็นว่าการที่จะเอาชนะภาวะเงินฝืดในประเทศญี่ปุ่นนั้น จำเป็นที่จะจะต้องมีนโยบายที่ช่วยเพิ่มจำนวนการเกิดประชากรในประเทศญี่ปุ่นใหม่ด้วย เพื่อทำให้แรงงานในประเทศญี่ปุ่นมีมากขึ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีนายกสมัยนั้น นายกรัฐมนตรีอาเบะก็มีนโยบายในการช่วยเหลือสตรีทั้งด้านแรงงานและการสร้างศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ขยายการลาคลอดเพื่อเลี้ยงบุตร รวมไปถึงมีนโยบายในการให้ผู้อพยพเข้ามาทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้ โดยแรงงานจะต้องมีทักษะในหลายๆด้าน ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงงานภายในประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาเงินฝืดนั่นเอง

ซึ่งนโยบายของพรรคการเมืองนายกรัฐมนตรีอาเบะนั้น จะเน้นไปที่การทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ข้าวของแพงขึ้นคนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น จะทำให้ค่าเยนของประเทศญี่ปุ่นแข็งค่ามากขึ้น แต่ซึ่งมันก็เปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อของประเทศได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น นั้นก็แสดงให้เห็นว่านโยบายบางอย่างควรได้รับการแก้ไข เช่น นโยบายการเงิน ที่ใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ควรควบคู่กับการใช้จ่ายของภาครัฐที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่ประชาชนได้ถอนออกจากธนาคาร แต่จะทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อไม่มากพอ ซึ่งก็จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ หรือไม่ก็ปรับเปลี่ยนการจ่ายภาษีสำหรับบริษัทต่างๆ โดยบริษัทที่มีความมั่งคั่งน้อยก็ต้องเสียภาษีน้อยตามรายได้ของบริษัท แต่บริษัทที่มีความมั่งคั่งมากก็จะถูกปรับขึ้นภาษีให้มากขึ้นตามรายได้ของบริษัทนั่นเอง รวมไปถึงควรสร้างคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบสาธารณสุข สภาพแวดล้อม ความสะอาด เนื่องจากอาจช่วยเพิ่มจำนวนประชากรในประเทศให้มากขึ้นได้

 งานเขียนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา

751309 Macro Economic 2

ซึ่งสอนโดย ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

งานชิ้นนี้ เขียนโดย 

ชฎาทิพย์ ปิงแก้ว 651610067