2 Min

ฉนวนกาซา พื้นที่รูปแบบนี้คืออะไร ทำไมถึงเรียกว่า ‘ฉนวน’ ?

2 Min
9582 Views
25 May 2021

ท่ามกลางการสู้รบอันยาวนานกว่าร้อยปีของอิสราเอลและปาเลสไตน์ พื้นที่สำคัญที่เกิดข้อพิพาทและความรุนแรงมาเสมอ คือ ‘ฉนวนกาซา’ (Gaza Strip) ดินแดนเล็กๆ ขนาดเพียงแต่ 360 ตร.กม.ที่มีประชากรมากถึง 1.8 ล้านคน และมีพื้นที่ติดกับประเทศอียิปต์ ที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ ‘กันชน’ สงครามระหว่างอาหรับ (ตอนนั้นคืออียิปต์) และอิสราเอล ในปี 1948

| inss

ปัจจุบันพื้นที่ในดินแดนกว่า 80% เป็นพื้นที่ของชาวยิว ในขณะที่ชาวอาหรับปาเลสไตน์ครอบครองพื้นที่ราว 20% ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ กาซา และ เวสท์แบงก์ (West Bank) ทางตะวันออกซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า แต่ความรุนแรงและภัยสงครามมักเกิดขึ้นเหนือพื้นที่กาซาเสมอ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะที่เวสต์แบงก์ที่การตั้งรกรากของชาวยิวอย่างผิดกฎหมายมากถึง 40%

ทั้งนี้ทั้งนั้น คำถามของเราวันนี้คือทำเรา ฉนวนกาซา ถึงถูกเรียกว่า ฉนวน?
เพราะถ้าหากดูจากภาษาอังกฤษ Gaza Strip คำว่า Strip เองมีความหมายถึงดินแดนที่มีลักษณะแคบๆ เป็นแถบยาว แต่ไม่ใช่ทุกพื้นที่จะถูกเรียกว่า ‘ฉนวน’ เช่น Aouzou Strip พื้นที่อดีตข้อพิพาทของประเทศชาติ และลิเบีย หรือ Toledo Strip ซึ่งเป็นอดีตพื้นที่พิพาทของรัฐโอไฮโอและมิชิแกนในสหรัฐฯ ก็ไม่ได้ถูกเรียกว่าฉนวน (หลายพื้นที่ใช้คำว่า Strip กับดินแดนที่เป็นแถบแคบๆ ไม่จำเป็นต้องมีข้อพิพาทด้วย)

| wikimedia

แล้ว ‘ฉนวน’ มาจากไหน?

ถ้าหากได้ยินคำว่า ‘ฉนวน’ ครั้งแรกเชื่อว่าน่าจะนึกถึง ‘ฉนวนไฟฟ้า’ ที่ป้องกันกระแสไฟ มีความเป็นไปได้ไหมที่คำว่าฉนวนที่ถูกเรียกพื้นที่ถูกกำหนดให้ป้องกันไฟจากข้อพิพาท? ไม่ใช่แบบนั้น อันที่จริง ‘ฉนวน’ ถูกใช้ในภาษาไทยหลายบริบท ถ้าเปิดพจนานุกรมจะพบความหมายหนึ่งที่ระบุว่า

‘ดินแดนที่แยกดินแดนอื่นออกเป็น 2 ฟาก หรือดินแดนที่มีทางออกทะเล’ และความหมายนี้จะถูกนำมาใช้นำหน้า corridor หรือช่องทางคมนาคม (หลายพื้นที่อยู่ในข้อตกลงที่ปราศจากภัยคุกคามของเจ้าของดินแดนเพื่อผลประโยชน์บางประการ)

กาซาไม่ใช่พื้นที่เดียวที่ถูกเรียกว่าฉนวน ในโลกนี้มีพื้นที่ที่ถูกเรียกว่าฉนวนอีกมาก เช่น ‘ฉนวนโปแลนด์’ (Polish Corridor) พื้นที่ทางออกทะเลซึ่งเยอรมนียกให้กับโปแลนด์เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจช่างสงครามโลกครั้งที่ 1

หรือแม้แต่ในประเทศไทยเองก็มี ‘ฉนวนไทย’ (Thai Corridor) พื้นที่ราบต่ำเชื่อมกับเขมรต่ำ ในประเทศกัมพูชา เป็นบริเวณการค้าใหญ่ริมชายแดน

ที่น่าสนใจคือในกาซา ก็มีอีกพื้นที่ซึ่งเป็น ‘ฉนวน’ เหมือนกัน คือ ฉนวนฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia Corridor) พื้นที่แคบๆ แค่ 14 กม. ที่เกิดขึ้นภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพของอียิปต์-อิสราเอล ในปี 1979 เพื่อเป็นเขตกันชนป้องกันการเคลื่อนย้ายอาวุธผิดกฎหมายของชาวอาหรับในอียิปต์กับคนในกาซา (แต่ก็มีการขุดอุโมงค์เพื่อขนถ่ายอาวุธใต้ดินอยู่)

มีความเป็นไปได้ว่า ฉนวนกาซา ถูกเรียกว่าฉนวนจาก ฉนวนฟิลาเดเฟีย ที่อยู่ในพื้นที่อีกที

ดังนั้นคำว่า ‘ฉนวน’ ของฉนวนกาซา ไม่ได้มีความหมายว่าป้องกันไฟหรือภัยคุกคาม แบบนัยยะของฉนวนไฟฟ้า แต่คือการอธิบายลักษณะพื้นที่ แต่ที่เรียกกาซาว่าฉนวน (Corridor) ไม่ใช่ แถบ (Strip) อาจเป็นเพราะมันมีความใกล้เคียงและทับซ้อนกับ ฉนวนฟิลาเดลเฟีย ที่อยู่ด้านในนั่นเอง

อ้างอิง: