เราอาจเคยได้ยินเสียงเเปลกประหลาด เสียงครวญคราง เสียงร้องที่ดังออกมาจากผืนน้ำ เสียงที่เกิดขึ้นเหมือนเสียงที่มาจากทรอมโบน ไม่ว่าจะเป็นตามเเนวปะการังซึ่งเป็นแหล่งที่มีเสียงดังจนน่าประหลาด เเละตัวการที่สร้างเสียงเหล่านั้นก็คือปลาที่อาศัยอยู่ตามเเนวปะการังนั้นนั่นเอง
เเม้ว่าโดยทั่วไปเเล้วสัตว์หลายชนิดจะสื่อสารโดยใช้เสียง เเต่ปลาก็ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มเหล่านี้ ปลาอาจอาศัยวิธีการอื่นในการสื่อสารเป็นหลัก ตั้งเเต่การส่งสัญญาณสี ภาษากาย ไปจนถึงกระเเสไฟฟ้า เเต่การค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ปลามีเสียงร้องในยามรุ่งสางเเละตอนค่ำเช่นเดียวกับนก
อารอน ไรซ์ (Aaron Rice) นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล บอกว่า ทราบกันมานานเเล้วว่าปลาบางตัวมีเสียง เเต่เสียงของปลามักถูกมองว่าเเปลกเเละหาฟังได้ยาก
ขณะที่เเอนดรูว์ เบส (Andrew Bass) นักประสาทวิทยาด้านวิวัฒนาการของมหาวิทยาลัยคอร์เนล กล่าวว่า พวกมันอาจถูกมองข้ามไปเพราะไม่ได้ยินหรือมองเห็นปลาได้ยาก เเละวิทยาศาสตร์ของการสื่อสารด้วยเสียงใต้น้ำ ก็มักจะเน้นไปที่วาฬเเละโลมาซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นหลัก เเต่ความจริงปลาเองก็มีเสียงเช่นกัน
ลักษณะทางสรีรวิทยาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ปลาสามารถทำให้เกิดเสียงดังขึ้นมาได้ เช่น ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ (Actinopterygii) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ พวกมันสามารถบดฟันหรือทำเสียงเคลื่อนไหวในน้ำได้ ปัจจุบันปลากลุ่มนี้มีมากกว่า 34,000 สายพันธุ์ เเละจำนวนปลาสองในสามมีเเนวโน้มที่จะสื่อสารด้วยเสียง
การปรับตัวของปลาที่พบมากที่สุดคือ กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะว่ายน้ํา หรือเรียกอีกอย่างว่ากระเพาะปัสสาวะซึ่งเต็มไปด้วยแก๊ส ทำให้ปลาสามารถควบคุมการลอยตัว เพื่อให้อยู่ในระดับความลึกของน้ำในปัจจุบันได้โดยไม่ต้องเสียพลังงาน ในการว่ายน้ำ เเละจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะว่ายน้ําของปลาคางคก ทำให้เห็นว่ากล้ามเนื้อโครงร่างสัตว์มีกระดูกสันหลังที่หดตัวเร็วที่สุดถือเป็นการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพสูง
จากการวิเคราะห์นี้ชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารด้วยเสียงอาจมีวิวัฒนาการอย่างอิสระในปลาอย่างน้อย 33 ครั้ง เห็นได้ชัดว่าปลาสามารถสื่อสารด้วยเสียงได้ ยิ่งไปกว่านั้นทฤษฎีที่เชื่อว่าปลาสามารถสื่อสารด้วยเสียงได้นั้นปรากฏขึ้นเมื่อ 155 ล้านปีก่อนแล้ว ซึ่งเป็นในช่วงเวลาเดียวกับการพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า สัตว์บกที่มีกระดูกสันหลังร้องได้เป็นครั้งแรกเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ไรซ์และทีมวิจัยกล่าวเพิ่มเติมว่า การวิเคราะห์ของพวกเขานั้นแสดงให้เห็นแค่เฉพาะการมีอยู่ของปลาที่เปล่งเสียงออกมาได้ หรืออาจเป็นเพราะว่ายังไม่ตั้งใจฟังมากพอที่จะได้ยินเสียงจากปลากลุ่มอื่นๆ
สิ่งที่พวกปลาพยายามจะพูดนั้นคืออะไรยังคงเป็นปริศนา มีการคาดเดากันว่าคงไม่พ้นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร การเตือนถึงอันตราย เหตุการณ์ทางสังคม (รวมถึงการโต้แย้งเรื่องถิ่น) และแน่นอนว่าต้องมีเรื่องเพศด้วย แต่ใครจะไปรู้ว่าปลาอาจมีความลับที่ยังไม่พูดออกมาก็ได้ จนนักวิจัยบางคนถึงกับพยายามใช้เสียงของปลา เพื่อเรียกร้องให้ปลามาช่วยฟื้นฟูแนวปะการัง!
อย่างไรก็ตาม การศึกษาการสื่อสารทางน้ำของปลาจะต้องมีการค้นคว้ากันต่อไป สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวิธีการสื่อสารของปลา และกิจกรรมบางอย่างของมนุษย์ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของพวกมัน บางทีปลาอาจกำลังบอกเราอยู่ก็ได้ว่าพวกมันต้องการอะไร
อ้างอิง
- Sciencealert. Fish Have ‘Talked’ For 155 Million Years, And Now You Can Hear Their ‘Voices’. https://bit.ly/33bwq5q
- News Cornell. Look who’s talking now: the fishes. https://bit.ly/3uC9qHN
- SYFY. AQUAMAN DOESN’T NEED PSYCHIC POWERS, FISH USE THEIR VOICES JUST LIKE WE DO. https://bit.ly/3JeSyLr