5 Min

HOMORA V2 ธุรกิจ Leverage Farming แบบ Muti-chain ที่ทำให้ฟาร์มได้เพิ่มขึ้น

5 Min
233 Views
21 Sep 2022

ก่อนอื่นเราจะมาพูดถึงที่มาของธุรกิจ Homora V2 โดยแพลตฟอร์ม Alpha Venture DAO(https://alphaventuredao.io/) ชื่อเดิมคือ Alpha Finance Lab เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2020 ก่อนรีแบรนด์องค์กรเมื่อเดือนเมษายน ปี 2022 ในชื่อว่า Alpha Venture DAO ที่มุ่งพัฒนาและผลักดันโปรเจกต์ในโลกคริปโตให้พร้อมก้าวเข้าสู่ยุคนวัตกรรม Web3

               โดยย้อนกลับไปเมื่อปี 2020 Alpha Finance Lab ต้องการสร้างและพัฒนาโปรดักส์ที่สร้างผลลัพธ์คืนกลับมาให้แก่ผู้ถือเหรียญคริปโต จึงได้สร้างโปรดักส์ตัวแรกคือ Alpha Homora ถือเป็นแพลตฟอร์ม DeFi ทำ Leverage Yield farming ถูกปล่อยออกมาเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2020 บนบล็อกเชน Ethereum ทั้งนี้ ได้มีการประยุกต์ใช้งานแพลตฟอร์ม Alpha Homora ในการ  farm leverage yield ค่าเงิน Ethereum อย่างล้นหลามจนจำเป็นต้องพัฒนา Alpha Homora v2 (https://homora-v2.alphaventuredao.io/) ออกมา ซึ่งเป็น DeFi แบบ Cross-chain ที่สามารถทำงานได้ทั้งบล็อกเชนของ Ethereum และ Binance Smart Chain

รูปที่ 1 : หน้าเว็ปของ Alpha Homora v2

ที่มาของรูป : https://homora-v2.alphaventuredao.io/

               Alpha Homora v2(https://homora-v2.alphaventuredao.io/) อัปเกรดจากเวอร์ชันแรก คือ ช่วยให้ทำฟาร์มได้ดีขึ้นอีกขั้นและผู้ให้ยืมจะให้ยืมสินทรัพย์ได้หลากหลายมากขึ้น เช่น Stablecoin อย่าง USDT, USDC, DAI และ LP Tokens อื่นๆได้ โดยได้รับดอกเบี้ยกลับมาสูง ผู้ทำฟาร์มเหรียญก็จะได้รับ APY จากการทำฟาร์มหรือค่าธรรมเนียมการเทรดมากขึ้น ส่วน Liquidity provider ก็ได้รับค่าธรรมเนียมจากการสร้างสภาพคล่องสูงขึ้นเช่นกันและ ALPHA มีจุดเด่นคือความสามารถในการวิเคราะห์และเลือกการลงทุนที่ให้ผลกำไรสูงสุดและมีความเสี่ยงต่ำสุดให้กับนักลงทุนได้อย่างอัตโนมัติ

รูปที่ 2 : หน้าสำหรับผู้ที่ต้องการปล่อยกู้

ที่มาของรูป : https://homora-v2.alphaventuredao.io/lend

               สำหรับผู้ที่ต้องการปล่อยกู้สามารถทำได้โดยการนำเหรียญดิจิทัลที่แพลตฟอร์มรองรับไปฝากไว้ใน Pool รวมกับเหรียญของผู้ใช้คนอื่น ๆ เมื่อฝากเหรียญเข้าไปแล้วจะได้เป็นเหรียญ alTokens เช่น alBNB หรือ alETH ออกมาและผู้ให้กู้สามารถวางสินทรัพย์เพื่อให้กู้ได้ถึง 12 สินทรัพย์ โดยจะได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ย APY

ซึ่งการฝากมี 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.   เลือก pool ที่เราต้องการจะฝากและคลิกไปที่ DEPOSIT

2.   ผุ้ให้กู้จะต้องกรอกจำนวนสินทรัพย์ที่ต้องการให้ยืม โดยสินทรัพย์จะถูกแปลงเป็นโทเค็นที่มีดอกเบี้ย(ibToken) ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นหลักฐานว่าผู้ใช้ได้ให้ยืมสินทรัพย์ใน HOMORA V2

3.   กดยืนยันการฝากเงิน เมื่อได้รับการยืนยัน สามารถไปตรวจสอบสถานการณ์ให้ยืมเงินได้ที่หน้าข้อมูลของเรา

ส่วนในการปิดสถานะสินเชื่อมี 2 ขั้นตอน ดังนี้

1.   กดที่ WITHDRAW โดยให้ป้อนจำนวน ibToken ที่ต้องการถอน โดยระบบจะทำการจัดหาเหรียญ DAI มาคืนพร้อมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

2.   กดยืนยันเพื่อทำการถอนให้เสร็จสิ้น

อัตราดอกเบี้ยและความเสี่ยงจากการให้ยืม มีดังนี้

1.   Lending APY มาจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของผู้ที่ต้องการกู้เงินไปทำฟาร์ม โดยการให้ยืม ibToken อัตราดอกเบี้ยจะแปรผันตามจำนวนผู้กู้ ตามหลัก demand and supply  เมื่อผู้ให้กู้ต้องการถอนสินทรัพย์ออก โดย ibToken จะถูกแปลงกลับเป็นสิทนทรัพย์หลักในจำนวนที่เพิ่มขึ้น(มูลค่าสินทรัพย์หลัก + ดอกเบี้ยเงินกู้)

2.   ความเสี่ยงในการให้ยืม (Lending risk) ผู้ให้กู้จะไม่ได้รับความเสี่ยงจาก impermanent loss และ liquidation risks จากการที่ผู้กู้ขาดสภาพคล่อง

3.   ความเสี่ยงจากการไม่มีสภาพคล่อง (Risk of Illiquidity) ผู้ให้กู้อาจไม่สามารถถอนเงินได้หากสภาพคล่องในกลุ่มเงินกู้ไม่เพียงพอ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่ออัตราการใช้สินทรัพย์สูงอย่างมีนัยสำคัญ โดยอาจจะรอจนกว่าการใช้สินทรัพย์จะลดลง

รูปที่ 3 : หน้าสำหรับผู้ที่ต้องการวางสภาพคล่องและกู้

ที่มาของรูป : https://homora-v2.alphaventuredao.io/farm-pools

เราจะมาดูหน้า Farm Pool โดยผู้ใช้สามารถดูรายการของ Pool ที่พร้อมใช้งานบน DEX ต่างๆบน HOMORA V2

               ก่อนอื่นเราจะพูดถึงการเล่น Leverage Farming โดยพื้นฐานแล้วการเล่น Leverage Farming คือการที่ยกระดับการทำฟาร์มด้วยผลผลิตโดยการยืมสภาพคล่องเพื่อเพิ่มต้นทุนในการทำฟาร์มผลผลิต ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับ APY สูงกว่าขีดจำกัดที่กำหนด ด้วยการใช้ Leverage Farming โดย Homora V2 จะยืมสินทรัพย์ที่ระบุในนามของผู้ฟาร์มเพื่อให้ผลผลิตฟาร์ม เป็นการทำฟาร์มที่ผู้ฟาร์มได้รับแรงจูงใจเพิ่ม สำหรับการจัดหาสภาพคล่องให้กับกลุ่มสภาพคล่องในโปรโตคอลที่ช่วยให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลแบบกระจายอำนาจบน DEX (Automated Market Maker : AMM) เช่น Uniswap V2 (ETH), Sushiswap (ETH) TraderJoe (AVAX) เป็นต้น

               สำหรับผู้ที่ต้องการกู้ ก่อนอื่นต้องฝากเหรียญเข้าไปในแพลตฟอร์มเพื่อเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน แต่ละเหรียญจะมีอัตรา Loan-To-Value (LTV) ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มกำหนด Loan-To-Value (LTV) ของเหรียญ ETH ไว้ที่ 75% ผู้กู้จะสามารถกู้เหรียญ ETH เพิ่มได้ไม่เกิน 75% ของมูลค่าที่ค้ำประกัน

โดยขั้นตอนการ Leveraged Yield Farming มี 4 ขั้นตอนดังนี้

รูปที่ 4 : หน้า Farm Pool ที่อยู่บน Homora V2

ที่มาของรูป : https://homora-v2.alphaventuredao.io/farm-pools

1.   เลือก Farm Pool และคลิกที่ปุ่ม Farm Action

รูปที่ 5 : ตัวอย่างการให้กู้เหรียญ DAI

ที่มาของรูป : https://docs.alphaventuredao.io/homora-v2/leverage-yield-farming/what-is-leveraged-yield-farming

2.   ป้อนจำนวนสินทรัพย์แต่ละรายการที่ต้องการ โดยผู้ใช้บน Homora V2 ไม่จำเป็นต้องจัดหาสินทรัพย์ทั้งสองในจำนวนที่เท่ากันในคู่สภาพคล่อง เพื่อที่จะให้ผลผลิตทางฟาร์ม เนื่องจากกระบวนการทำฟาร์มที่ให้ผลตอบแทนของ Homora V2 จะทำการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์โดยอัตโนมัติและเหมาะสมที่สุดเพื่อให้ได้มูลค่าที่เท่ากันของโทเค็นทั้งสอง

รูปที่ 6 : ตัวอย่างการเลือกระดับ Leverage Farming ระบุสินทรัพย์และส่วนของสินทรัพย์ที่จะยืม เหรียญ DAI

ที่มาของรูป : https://docs.alphaventuredao.io/homora-v2/leverage-yield-farming/what-is-leveraged-yield-farming

3.  เลือกระดับ Leverage Farming และระบุสินทรัพย์และส่วนของสินทรัพย์ที่จะยืม ซึ่ง Homora V2 ต่างจากโหมดการทำฟาร์มแบบพื้นฐาน ผู้ใช้จำเป็นต้องเลือกระดับเลเวอเรจที่ต้องการและระบุสินทรัพย์และจำนวนสินทรัพย์ที่ผู้ใช้ต้องการยืมโดยการปรับสัดส่วน (%) ของสินทรัพย์แต่ละรายการ ในตัวอย่าง ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะยืม 75% ใน DAI และ 25% ที่เหลือใน ETH

รูปที่ 7 : การยืนยันกลยุทธ์

ที่มาของรูป : https://docs.alphaventuredao.io/homora-v2/leverage-yield-farming/what-is-leveraged-yield-farming

4. ยืนยันกลยุทธ์โดยคลิกที่ปุ่มยืนยันเพื่อทำธุรกรรมการทำฟาร์มที่ให้ผลตอบแทนแบบเปิดให้เสร็จสิ้น และผู้ใช้จะได้รับรายละเอียดของกลยุทธ์ที่หน้า your position

               โดยจากการที่เรา leverage farming คือการที่เรากู้เงินบนแพลตฟอร์มใดก็ตาม เราจะมีภาระที่ต้องผ่อนจ่ายคือดอกเบี้ยเงินกู้และถ้าเงินต้นที่เราใช้ค้ำเพื่อกู้เงินออกมาต่ำกว่าที่กำหนดก็จะถูกยืดเงินเพื่อจ่ายคืนแพลตฟอร์มเรียกว่าการ liquidation ซึ่งแน่นอนว่าการที่ผลตอบแทนมาขึ้นจะทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้นเช่นกัน

               ซึ่งการป้องกันการโดน liquidation เราจะต้องค่อนตรวจสอบ position value เราตลอด และเปอร์เซนการโดน liquidation ต่ละแพลตฟอร์มหรือแต่ละ pool อาจจะไม่เหมือนกัน เราจึงต้องดูข้อกำหนดดีๆ

 ที่มาของข้อมูล

https://alphaventuredao.io/

https://docs.alphaventuredao.io/homora-v2/leverage-yield-farming/what-is-leveraged-yield-farming

https://homora-v2.alphaventuredao.io/farm-pools

https://homora-v2.alphaventuredao.io/lend

https://homora-v2.alphaventuredao.io/

ทั้งหมดนี้ เป็นบทความเพื่อการศึกษา

ไม่ได้มีเป้าหมาย เพื่อชักชวนในการลงทุน

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Economics of DeFi ของ ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

น.ส. อชิรญา เทศภักดี

นักศึกษาปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่