2 Min

Brownout ไม่หมดไฟ แต่หมดใจในการใช้ชีวิต ไม่กระตือรือร้น ให้ความร่วมมือน้อยลง

2 Min
927 Views
27 Jun 2022

หลายคนอาจจะคุ้นเคยและรู้จักกับอาการหมดไฟในการทำงาน (burnout) กันอยู่แล้ว แต่บางครั้งอาการที่เกิดขึ้นกับเราอาจไม่ใช่การหมดไฟในการทำงานซะทีเดียว แต่อาการที่เรารู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร หรือการหมดใจในการทำงานนั่นเอง ซึ่งหลายคนอาจจะมองข้ามอาการนี้ไป เพราะคิดว่าไม่ได้ส่งผลกระผลต่อการใช้ชีวิตของเรามากนัก

ซึ่งอาการหมดใจในการทำงาน หรือ brownout มักเกิดขึ้นกับคนที่มีความสามารถมากกว่าคนอื่น สาเหตุอาจมาจากเพื่อนร่วมงาน กฎขององค์กร การได้รับผลตอบรับไม่ดีในการทำงาน หรือเรียกได้ว่าเป็นผลกระทบที่มาจากสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ยกตัวอย่างเช่น เรารู้สึกไม่อยากทำงานล่วงเวลา ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้เราจะเต็มใจก็ตาม ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้อาจจะส่งผลต่อสภาพจิตใจของตัวเราเอง

โดยอาการหมดไฟ (burnout) และอาการหมดใจ (brownout) ในที่ทำงานก็มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเราเกิดอาการหมดไฟจากการทำงานที่หนักมากจนเกินไป สามารถจัดการได้ด้วยวิธีการหยุดพัก แต่อาการหมดใจไม่สามารถจัดการได้ด้วยวิธีนี้ เพราะสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกแบบนั้น เกิดขึ้นมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ใช่จากตัวเราเอง

อาการหมดใจในการทำงานมีลักษณะที่ดูเหมือนจะร้ายแรงกว่า เพราะมันอาจจะนำไปสู่การลาออกจากการทำงานได้เลย ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว เรามาดูผลเสียที่จะเกิดขึ้นหากเรายังรู้สึกหมดใจในการทำงานกัน

รู้สึกขี้เกียจและไม่กระตือรือร้นเท่าเมื่อก่อน

ให้ความร่วมมือและความสนใจในงานที่ทำลดน้อยลง

สุขภาพเสียจากการพักผ่อนน้อย เหนื่อยล้าง่ายกว่าปกติ

ตีตัวออกห่างจากสังคม ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับใคร ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือแฟน

ถ้าหลายคนกำลังมีความรู้สึกแบบนี้ อาจจะต้องลองวิธีการรับมือกับการทำงานเพื่อไม่ให้เกิดภาวะหมดใจในการทำงานในองค์กร ด้วยวิธี 4C ดังนี้

  1. Conversation
    เราควรหาโอกาสคุยกับหัวหน้างาน เกี่ยวกับเรื่องที่ทำให้เราหงุดหงิดใจ และหัวหน้าเองก็ควรมีการพูดคุยกับคนอื่นๆ เช่นกัน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน
  2. Counseling
    เมื่อรู้สึกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเราไม่สามารถรับมือคนเดียวไหว เราสามารถขอคำปรึกษากับคนรอบข้างหรือนักจิตวิทยาได้ เพราะคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นทางออกที่ช่วยเราให้ได้เห็นมุมมองที่แตกต่างได้
  3. Clear goals
    บางครั้งเราควรหาเวลาว่างให้เราได้นึกถึงความต้องการของเราจริงๆ เนื่องจากการทำงานหนักเกินไป จะทำให้เราละเลยกับความต้องการของตัวเองไปบ้าง เราจึงต้องจัดสรรเวลามาใส่ใจเป้าหมายของตัวเองบ้าง เพื่อสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตให้มากขึ้น
  4. Create balance
    ในการสร้างสมดุลให้กับชีวิต เราไม่สามารถละเลยสิ่งรอบตัวเราได้ ไม่ว่าจะเป็น ด้านสุขภาพ ความสัมพันธ์ หรือการทำงาน ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อเรามีชีวิตที่สมดุล เราก็จะใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดในการลดอาการหมดใจของเรา อาจเป็นการพูดคุยกับหัวหน้างานเพราะสิ่งนั้นนอกจากจะช่วยให้อีกฝ่ายได้รับรู้ถึงความต้องการของเราแล้ว ยังสามารถช่วยพัฒนาองค์กรที่เราอยู่ให้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ หากเราไม่มีความสุขแล้ว ทางสุดท้ายที่ทำได้อาจเป็นการก้าวออกมาจากความรู้สึกไม่ดีเหล่านั้น

 สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดในการลดอาการหมดใจของเรา อาจเป็นการพูดคุยกับหัวหน้างานเพราะสิ่งนั้นนอกจากจะช่วยให้อีกฝ่ายได้รับรู้ถึงความต้องการของเราแล้ว ยังสามารถช่วยพัฒนาองค์กรที่เราอยู่ให้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ หากเราไม่มีความสุขแล้ว ทางสุดท้ายที่ทำได้อาจเป็นการก้าวออกมาจากความรู้สึกไม่ดีเหล่านั้น

อ้างอิง

  • iStrong. แก้ Brownout Syndrome ปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยของคนวัยทำงาน ด้วยหลัก 4C. https://bit.ly/3O9KAGs
  • Quantum Workplace. What is Employee Brownout?: Why Star Employees Leave and What They Know. https://bit.ly/3NemUzg