เทศกาลลดราคาเริ่มมาจากฝั่งตะวันตก อย่างสหรัฐอเมริกา กับ Black Friday และ Cyber Monday โดยวันเหล่านี้จะเริ่มต้นขึ้นหลังจากวันขอบคุณพระเจ้า (วันพฤหัสบดีที่ 4 เดือนพฤศจิกายนของทุกปี)
Black Friday มาจากศัพท์ทางบัญชีอย่าง In the black ที่หมายความว่ายอดเงินไม่ติดลบ ที่เรียกว่า Black Friday เพราะว่ามีการลดราคาแบบไม่เกรงใจใครในวันนี้ พ่อค้าแม่ค้าสามารถขายของได้ดีจนบัญชีไม่ติดลบนั่นเอง ส่วนคำว่า Cyber Monday จะเน้นฝั่งขายออนไลน์มากกว่า เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2016 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ทางฝั่งตะวันออกเทศกาลลดราคาน่าจะเริ่มมาจากประเทศจีน โดยเริ่มจากเทศกาล 11.11 หรือเทศกาลคนโสด ที่เรียกว่าเทศกาลคนโสดเพราะมีเลข 1 ที่เป็นเหมือนตัวแทนของคนเดียวเรียงกัน 4 ตัว และเริ่มมีเทศกาลลดราคาในปี ค.ศ.2009 โดยเริ่มจาก TMall ของเว็บไซต์อาลีบาบา โดยสามารถทำยอดขายได้ 52 ล้านหยวนภายในวันเดียว ทำให้อีกหลากหลายประเทศในเอเชียเริ่มทำตาม และไม่ได้มีแค่ 11.11 แต่เรื่อยมาตั้งแต่ 12.12 และมีมาทุกเดือน
แล้วทำยังไงถึงจะใช้เงินได้คุ้มค่าที่สุดในช่วงเทศกาลลดราคา?
1. เริ่มจากลิสต์ของที่อยากได้ออกมา
2. เลือกว่าอันไหนจำเป็น อันไหนควรมีตามวาระ หรือบางอย่างที่มาต่อยอดรายได้ (โน้ตบุ๊ก ไมโครโฟน เป็นต้น)
3. ตั้งงบและจัดของที่ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ออกไป เพื่อไม่ให้การใช้จ่ายเกินงบที่กำหนดไว้
4. งานวิจัย If Money Doesn’t Make You Happy, Then You Probably Aren’t Spending It Right ของอาจารย์ณัฐวุฒิ เผ่าทวี บอกไว้ว่า ‘ต้องระวังการซื้อของจากการตัดสินใจแบบเปรียบเทียบ’
อย่างถ้าจะซื้อคอมสักหนึ่งเครื่องสิ่งที่เราต้องตัดสินใจ คือ สเปคและการทำงาน อย่าใช้อารมณ์มากเกินไป เช่น เลือกซื้อจากสีที่ชอบ เป็นต้น
5. ‘ให้ส่วนลดจากราคาปกติมากแค่ไหน’ ถ้าไม่รีบใช้ก็ไม่ต้องรีบกดซื้อเพราะในเดือนต่อๆ ไปอาจจะลดลงมากกว่านี้ก็ได้
6. สิ่งสำคัญคือถามตัวเองว่าถ้าไม่ลดราคาเราจำเป็นต้องซื้อไหม ถ้าคำตอบคือใช่ ก็ตัดสินใจได้ไม่ยาก ดูความคุ้มค่าแล้วซื้อเลย
7. สุดท้ายสำหรับคนที่ติดการซื้อของในช่วงเทศกาลลดราคา วิธีแก้คือ ‘เราต้องทำให้การซื้อมันยากขึ้น’ อย่างการลบแอปในมือถือ ไม่ผูกบัญชีไว้กับแอปที่ทำให้การโอนสะดวกขึ้นหรือแยกบัญชีจำกัดวงเงินไว้สำหรับซื้อของออนไลน์เท่านั้น
ติดตาม ‘Meconomist ดึงสติ ให้มีสตางค์’ Podcast จาก BrandThink ในประเด็น เทศกาลลดราคา ซื้อของยังไงถึงจะคุ้มค่า? ได้ที่: https://bit.ly/3hfg28k
ดำเนินรายการโดย ถนอม เกตุเอม เจ้าของ Fan Page TaxBugnoms และโอมสิริ วีระกุล นักเขียนผู้เป็นเจ้าของหนังสือชื่อดังหลายเล่ม