2 Min

ภาพถ่ายไฮสปีดเผยจามพุ่งไกลถึง 8 เมตร หรือการเว้นระยะห่างตอนนี้อาจไม่เพียงพอ?

2 Min
223 Views
09 Aug 2020

ภาพที่เห็นคือภาพถ่ายความเร็วสูง ที่เก็บภาพรัศมีและความแรงของน้ำมูก น้ำลาย ที่พุ่งไกลออกมาจากทั้งจมูกและปาก ซึ่งนักวิจัย Lydia Bourouiba จาก MIT ใช้เวลาเก็บตัวอย่างมาตลอด 2-3 ปีนี้

นักวิจัยใช้กล้องความเร็วสูงและแสง เพื่อที่จะเปิดเผยวิธีการที่มนุษย์ “ขับ” สารคัดหลั่งออกมาจากร่างกายและแพร่เชื้อโรค ด้วยภาพกว่า 2,000 เฟรมต่อวินาที ทั้งคลิปวิดีโอและภาพจากแล็บแสดงให้เป็นแล้วว่า ละอองน้ำมูกและน้ำลายของคุณสามารถพุ่งออกมาได้เร็วเกือบ 100 ไมล์ต่อชั่วโมง และอาจเดินทางไปได้ไกลถึง 27 ฟุต (8.2 เมตร)!

แถมเมื่อจามเสร็จแล้วละอองน้ำและก๊าซยังสามารถลอยอยู่ในอากาศได้อีกหลายนาทีขึ้นอยู่กับขนาด เพราะละอองขนาดใหญ่จะตกลงพื้นเร็วกว่า ถ้าหากมีคนไปสัมผัสหลังจากนั้นก็อาจติดเชื้อได้ ในขณะที่ละอองฝอยนั้นคาดเดาไม่ค่อยได้ มันสามารถเดินทางได้ไกลกว่าขนาดใหญ่แต่ก็ระเหยได้เร็วกว่า

การพยายามทำความเข้าใจว่าละอองเหล่านี้เดินทางและแพร่ยังไง มีความสำคัญมากต่อการความเข้าใจโรคทางเดินทายใจ เช่น COVID-19 และงานวิจัยของ Bourouiba ทำให้เดข้อถกเถียงใหม่ ๆ ว่าไวรัสอาจแพร่กระจายทางอากาศได้ดีกว่าที่คาด

และที่สำคัญจากงานวิจัยของ Bourouiba ทำให้การเว้นระยะห่าง 2 เมตร ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา และหลาย ๆ ประเทศ (รวมถึงประเทศไทยด้วย) เพราะการจามอาจทำให้ละอองลอยพุ่งไปไกลกว่านั้นเกือบ 4 เท่า แปลว่าระยะห่างที่ถูกกำหนดขึ้นอาจไม่เพียงพอ ถึงแม้ว่าการจามจะไม่ได้เป็นอาการเบื้องต้นของคนเป็น COVID-19 แต่ในคนที่มีพื้นฐานเป็นภูมิแพ้หรือการจามทั่วไปก็ยังเสี่ยงอยู่ดี

“มันมีผลและมีความหมายกับการจัดการหลังจากนี้ การทำงานและการประชุมอาจต้องปรับตัว โดยเฉพาะในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท”

อย่างไรก็ดีละอองที่พุ่งไปได้ไกลคือละอองฝอยขนาดเล็ก และยังไม่การยืนยันว่าเชื้อ COVID-19 สามารถแพร่กระจายด้วยละอองลอยขนาดเล็กได้หรือไม่ หรือว่าได้ไกลแค่ไหน นักวิจัยยังไม่สามารถตอบได้ การพิสูจน์ก็เป็นเรื่องยากที่จะเก็บตัวอย่างละอองลอยในอากาศ ผ่านตัวกรองที่อาจทำให้ละอองระเหยไปก่อน

สรุปแล้วจากภาพถ่ายความเร็วสูง เราทราบแล้วว่าการจามสามารถปล่อยละอองออกมาอย่างรวดเร็ว และละอองฝอยสามารถพุ่งไปได้ไกลถึง 8 เมตร แต่วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เชื้อไวรัสที่อยู่ในละออกฝอยจะแพร่เชื้อได้หรือเปล่า ทางที่ดีที่สุดคือพยายามใส่หน้ากากอนามัยป้องกันตัวตลลอดเวลา และพยายามรักษาระยะห่างให้ได้มากที่สุด

อ้างอิง: https://on.natgeo.com/2RMtFyv

#ส่งต่อความคิดสู้Covid19