ปวดหลังทั้งแผ่นดิน
By BrandThink

ปวดหลังทั้งแผ่นดิน

  • monitoring10/100 STORY
  • event17.11.21
  • person_add0
  • visibility1,842
  • favorite6

ทำงานก็นาน สวัสดิการก็ไม่ค่อยจะมี

นี่คือแคมเปญที่รู้ดีว่าคุณ ‘ปวดหลัง!!!’

เรามาชวนคุณแชร์ประสบการณ์นั่งหลังแข็งและทางแก้ เพื่อให้เราทุกคนไม่ต้องร่างพังกันอีกต่อไป!

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง มาเล่าประสบการณ์และ บอกเจ้านายออกไป “ว่าทำไมเราปวดหลัง!!” กับเราในแคมเปญ
#ปวดหลังทั้งแผ่นดิน

 

ปวดหลัง
ทั้งแแผ่นดิน

ทำงานก็นาน สวัสดิการก็ไม่ค่อยจะมี นี่คือแคมเปญที่รู้ดีว่าคุณปวดหลัง!!!

BrandThink ชวนคุณแชร์ประสบการณ์นั่งหลังแข็งและทางแก้ เพื่อให้เราทุกคน
ไม่ต้องร่างพังกันอีกต่อไป!

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง มาเล่าประสบการณ์และบอกเจ้านายออกไปว่า “ทำไมเราปวดหลัง!!”
ในแคมเปญ #ปวดหลังทั้งแผ่นดิน

ประวัติศาสตร์การปวดหลัง

ย้อนรอยการทำงาน ที่ทำให้หลังเราเจ็บปวดขึ้นไปอีก

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตแห่งความปวดหลัง

นี่ไม่ใช่เรื่องล้อเลียน มนุษย์เป็นสัตว์ที่สามารถปวดหลังได้มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ จริงๆ เพราะอาการเจ็บปวดเหล่านี้ที่เราพบเจอเป็นสิ่งที่เผ่าพันธุ์เรายอมแลกมาเพื่อวิวัฒนาการการยืน 2 ขาเมื่อหลายล้านปีก่อน

อ่านต่อได้ในบทความฉบับเต็ม

คุยกับ ‘อู๋ The Yers’ ในวันที่รู้ว่า ‘ปวดหลัง’

อันตรายมากกว่าที่คิด จึงหันมารักตัวเองมากขึ้นร้อยเท่า

เพราะอาการ ‘ปวดหลัง’ เป็นหนึ่งในอาการฮอตฮิตของผู้คนยุคสมัยนี้ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และอาจเป็นสัญญาณอันตรายถึงความผิดปกติของร่างกาย รวมถึงโรคต่างๆ ได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ หรือไม่ควรถูกมองข้ามจนกลายเป็นเรื่องปกติ

วันนี้เราจึงชวน ‘คุณอู๋-ยศทร บุญญธนาภิวัฒน์’ ผู้เป็นนักร้องนำและมือกีตาร์ วง The Yers วงดนตรีร็อกอินดี้ที่มีเพลงติดหูมากมาย มาร่วมแชร์มุมมองอาการปวดหลัง รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์เจอปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และเสนอทางแก้ เพื่อสวัสดิการที่ดี
และเพื่อให้เราทุกคนไม่ต้อง ‘ร่างพัง’ กันอีกต่อไป

“คนเราไม่ถูกสอนให้ยกของให้ดีตั้งแต่เด็ก กว่าจะรู้ตัวก็ปวดหนักแล้ว” 
นี่เองคือสาเหตุหลักที่ทำให้คุณอู๋ต้องประสบกับอาการปวดหลังมาตั้งแต่วัยเยาว์

‘ชั่วโมงทำงาน’ ตัวร้ายสำคัญ

ที่ทำให้คุณเลิกปวดหลังไม่ได้สักที!

คุณคิดว่าตัวเองทำงานเกินวันละ
8-9 ชั่วโมงไหม?

ช่วงนี้กำลังปวดหลังอยู่หรือเปล่า?

ถ้าคำตอบคือ ‘ใช่’ ทั้งหมด เป็นไปได้ว่าคุณได้พบตัวร้ายของสาเหตุสุขภาพหลังอันย่ำแย่ของคุณแล้ว เจ้าตัวร้ายตัวนั้นคือ ‘ชั่วโมงการทำงาน’

และบางทีมันไม่ได้แค่มีฤทธิทำให้เราแค่ปวดหลัง แต่มันยังอาจทำให้เรา ‘ถึงตาย’ ได้เลยนะ

อ่านต่อได้ในบทความฉบับเต็ม

มนุษย์ตึง อยากให้ความตึงหายไปจากคนไทย

‘บุญญาพร เลิศวัฒนกิตติ’ ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดและเจ้าของเพจ ‘มนุษย์ตึง’
มาพูดคุยเกี่ยวกับการดูแลและวิธีการกายภาพสรีระร่างกายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ทำไมสังคมที่จะก้าวหน้า

ถึงจะทำให้ประชาชนไม่ล้าหลัง

เคยปวดหลังกันบ้างไหม? ในไทยอาการปวดหลังจากการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของอาการที่คนไทยเรียกว่า “ออฟฟิศซินโดรม”
และมันก็ถือว่าเป็นปัญหาคลาสสิคของมนุษย์เงินเดือนในเมืองไทยเลย

แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมปัญหาแบบนี้ถึงแทบไม่มีในโลกตะวันตก?
หรือมีน้อยกว่าโลกตะวันออกมากๆ

 ในโลกตะวันตกโดยทั่วๆ ไป ประเทศยิ่งรวย คนจะยิ่งทำงานน้อยแต่ในขณะเดียวกับในประเทศตะวันออกทุกประเทศที่รวยๆ ที่เศรษฐกิจโตๆ คนทำงานหนักบ้าคลั่งระดับทำงานหนักจนตายกันทั้งนั้นไม่ว่าจะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือจีน

ทำไมมันเป็นแบบนี้?

อ่านต่อได้ในบทความฉบับเต็ม

รู้หรือไม่? ปวดหลังเป็นประเด็น ‘ระดับชาติ’

หลายประเทศมีกฎหมายคุ้มครองผู้มีอาการนี้ และเราไม่ควรมองข้าม

สัญญาณบ่งชี้ว่า ‘ปวดหลัง’ เป็นโรคยอดฮิตของคนหลายกลุ่มอาชีพ รวมถึงคำเตือนของกรมการแพทย์ที่ให้ข้อมูลว่าแรงงานอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคปวดหลัง ‘มากที่สุด’ อ้างอิงการเปิดเผยครั้งล่าสุดเมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นการสำรวจก่อนระบบสาธารณสุขของไทยจะถูกกดดันให้ต้องรับมือกับโรคระบาดอย่างโควิด-19
จนแทบไม่ได้พูดถึงความป่วยไข้อื่นๆ ของประชาชน

ประเทศอื่นๆ ที่มองว่าโรคปวดหลังเป็นประเด็นระดับชาติเหมือนกัน มีทั้งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ แอฟริกาใต้ และญี่ปุ่น ที่รณรงค์ให้พลเมืองของตัวเองตระหนักถึงความร้ายแรงของอาการปวดหลัง และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการคุ้มครองสวัสดิการแรงงานก็จะให้คำแนะนำอย่างละเอียดเพื่อให้คนหมั่นสังเกตอาการกันตั้งแต่เนิ่นๆ และเข้ารับการรักษาบำบัดอย่างถูกต้อง-ทันเวลา

อ่านต่อได้ในบทความฉบับเต็ม

‘อาการปวดหลัง’ กำลังจะกลายเป็นภัยสุขภาพเรื้อรัง

คุยกับคุณหมอชัยเดช เจาะต้นตอปัญหาปวดหลัง

คุณปวดหลังรึเปล่า? เชื่อว่าคำตอบของมนุษย์ทำงานกว่าครึ่งจะตอบอย่างพร้อมเพรียงว่า ปวด!

ชีวิตการทำงานที่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์หลายวัน วันละหลายชั่วโมง นั้นส่งผลต่อกล้ามเนื้อไปจนถึงกระดูกสันหลังของเราได้จริง
จนทำให้ออฟฟิศซินโดรมกลายเป็นอาการฮิตที่วัยทำงานหลายคนต้องเผชิญ

โดย ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ที่เราเรียกกันจนคุ้นปาก ถึงแม้จะไม่ใช่ศัพท์ทางการแพทย์ แต่โดยทั่วไปแล้วออฟฟิศซินโดรมจะรวมถึงโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง
อาจเป็นบริเวณกระดูกสันหลัง ต้นคอ บ่า สะบักและก็บริเวณบั้นเอว บางคนก็ลงไปถึงบริเวณก้นหรือสะโพกด้านหลัง
บางคนปวดมานานเป็นปีจนกลายเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต

เพราะเชื่อว่าการปวดหลังจากการทำงานเป็นเรื่องจริงจังและไม่ควรถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ BrandThink จึงชวนมาคุยกับคุณหมอ ชัยเดช สระสมบูรณ์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแผนก ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล (Bangkok International Hospital)
เพื่อให้เราเข้าใจว่าปวดหลังมันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ!

อ่านต่อได้ในบทความฉบับเต็ม

ปวดหลังเรื้อรังไม่หาย ควรทำไงดี?

อาการปวดหลังจากการทำงาน เป็นปัญหาหนักกาย เป็นเรื่องหนักบ่า ของเกือบทุกอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่กับที่และจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ความปวดร้าวอาจมาทักทายได้บ่อยขึ้น ซึ่งหลายคนคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิด ไม่ได้ร้ายแรงอะไรจึงไม่ได้ใส่ใจ

ในคนที่มีอาการปวดต้นคอ ปวดกลางลำตัว ปวดช่วงเอว ปวดก้นกบ ปวดร้าวไหล่ ปวดร้าวขา ชาตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจเป็นเหมือนอาการออฟฟิศซินโดรมทั่วๆ ไป แต่ถ้าหากว่ามีอาการเหล้านี้นานเกิน 4 สัปดาห์ ไม่หายเสียที ขอบอกว่ามันอาจกลายเป็นอาการเรื้อรังหรือเป็นอาการเกี่ยวกับกระดูกสันหลังเหล่านี้

อ่านต่อได้ในบทความฉบับเต็ม

เช็คลิสต์ 6 ข้อ หาสาเหตุการปวดหลัง

‘เก้าอี้ห่วย’ หรือ ‘งานเครียด’


All Submissions

Loading